เมนู "ตารางรหัส/การตั้งค่า"

จาก คูนิฟ็อกซ์ วิกิ


เมนู "ตารางรหัส/ตั้งค่า" ของคูนิฟ็อกซ์
เมนู "ตารางรหัส/ตั้งค่า" ของคูนิฟ็อกซ์

จัดการตารางรหัส

ตารางรหัสเป็นส่วนเก็บข้อมูลที่ค่อนข้างคงที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงให้กับข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ผู้ใช้ในแต่ละสถานประกอบการควรสร้างข้อตกลงภายในเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและรูปแบบของตารางรหัสต่างๆ เป็นขั้นตอนแรกๆ ของการเริ่มใช้งานระบบคูนิฟ็อกซ์ ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนของข้อมูล และความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานต่อไปในอนาคต

แต่ละโมดูลจะมาพร้อมกับตารางรหัสของตัวเอง บางตารางรหัสจะมีค่าตั้งต้นเอาไว้ให้แล้วในขณะที่บางตารางรหัสจะเริ่มต้นด้วยฐานข้อมูลเปล่า

      เพจจัดการตารางรหัส
      เพจจัดการตารางรหัส
    1. เมื่อผู้ใช้เลือกเมนูย่อย "จัดการตารางรหัส" แล้ว โปรแกรมจะเข้าสู่เพจเลือกตารางรหัส
    2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
      ตัวอย่างตารางรหัส (ตารางรหัส "เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร")
    3. คลิกเลือกตารางรหัสที่ต้องการอ่าน/แก้ไขข้อมูล โปรแกรมจะเข้าสู่เพจของตารางรหัสที่เลือก
      • ตารางรหัสส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นตารางเดี่ยว (ดูวิธีใช้งานตารางได้ที่หัวข้อ "ตารางในระบบคูนิฟ็อกซ์")
      • ตารางรหัสที่มีโครงสร้างซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ฟอร์มและตารางร่วมกันในการแสดงค่า (ดูวิธีการใช้งานได้ที่ "การใช้งานหน้าจอเอกสาร")

*** โครงสร้างและความหมายของช่องข้อมูลในตารางรหัสแต่ละตาราง จะยกไปกล่าวถึงในบทเฉพาะของแต่ละโมดูล

จัดการซีรีส์เอกสาร

ผู้ใช้สามารถตั้งค่าวงรอบเอกสารและซีรีส์เอกสารที่ใช้งานได้ภายใต้เมนูนี้

เพจ "จัดการซีรีส์เอกสาร"
เพจ "จัดการซีรีส์เอกสาร"
  1. เมื่อเลือกเมนูย่อย "จัดการซีรีส์เอกสาร" โปรแกรมจะแสดงรายการโมดูลที่เปิดใช้งานอยู่
  2. เลือกโมดูลที่เกี่ยวข้องกับเอกสารที่ต้องการอ่าน/แก้ไข (ในตัวอย่างเลือกโมดูล "เจ้าหนี้/ลูกหนี้")
  3. อ่าน/แก้ไขรายการได้ตามต้องการ (ดูหัวข้อ ตารางในระบบคูนิฟ็อกซ์ ประกอบ)
เพจ "จัดการซีรีส์เอกสาร" (โมดูลเจ้าหนี้/ลูกหนี้)
เพจ "จัดการซีรีส์เอกสาร" (โมดูลเจ้าหนี้/ลูกหนี้)

คำอธิบายช่องข้อมูล

กลุ่มเอกสาร ประเภทของเอกสาร (โดยปกติจะตรงกับเมนูย่อยที่ใช้เข้าถึงตัวเอกสารนั้นๆ)
ตั้นต้น ใช้ซีรีส์นี้เป็นซีรีส์ตั้งต้นสำหรับกลุ่มเอกสารนี้หรือไม่
ซีรีส์ ซีรีส์ของเอกสาร (อาจตั้งเป็นอักษรย่อ หรือกลุ่มอักษรอื่นที่สื่อความหมายก็ได้)

*** ความยาว 3 ตัวอักษร (ตัวอักษรหรือตัวเลข)

คำอธิบาย คำอธิบายหรือชื่อเต็มของเอกสารในซีรีส์นั้น
รหัสแผนก รหัสของแผนกที่ใช้ข้อมูลในรายการนี้

*** หากระบุเป็น "ทั้งหมด" หมายถึงรายการนี้เป็นรายการสำหรับเลขที่เอกสารที่ไม่แยกแผนก หรือ ยังไม่มีแผนกใดเริ่มใช้ซีรีส์ตามรายการนี้

ชื่อแผนก ชื่อของแผนกที่ใช้ข้อมูลในรายการนี้
(วงรอบก่อน) เลขลำดับถัดไปสำหรับเอกสารใน "วงรอบก่อน"
(วงรอบปัจจุบัน) เลขลำดับถัดไปสำหรับเอกสารใน "วงรอบปัจจุบัน"

*** หากผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนวันที่ของวงรอบปัจจุบัน ทำได้โดย

  1. กรอกค่าที่ต้องการในช่องข้อมูล "ตั้งค่าวงรอบนี้" ที่อยู่เหนือตาราง
  2. คลิกปุ่ม "ตั้งค่า" ข้างช่องข้อมูลนั้น
  3. ระบบจะเปลี่ยนวงรอบของทุกซีรีส์เอกสาร (กรณีวงรอบที่ตั้งค่าใหม่ตรงกับ "วงรอบก่อน" หรือ "วงรอบถัดไป" ระบบจะขยับเลขลำดับให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติด้วย)
(วงรอบถัดไป) เลขลำดับถัดไปสำหรับเอกสารใน "วงรอบถัดไป"

เลขที่เอกสาร 3 วงรอบ และการขยับวงรอบอัตโนมัติ

เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกเอกสารย้อนหลังหรือล่วงหน้า ระบบคูนิฟ็อกซ์จะเก็บค่าเลขลำดับเอกสารเอาไว้ 3 ชุด ดังนี้

  • กรณีตั้งค่าวงรอบเอกสารเป็น "วัน" และวงรอบปัจจุบันคือวันที่ 3 ตุลาคม 2021
    • วงรอบก่อนคือวันที่ 2 ตุลาคม 2021
    • วงรอบถัดไปคือวันที่ 4 ตุลาคม 2021
  • กรณีตั้งค่าวงรอบเอกสารเป็น "เดือน" และวงรอบปัจจุบันคือเดือนตุลาคม 2021
    • วงรอบก่อนคือเดือนกันยายน 2021
    • วงรอบถัดไปคือเดือนพฤศจิกายน 2021
  • กรณีตั้งค่าวงรอบเอกสารเป็น "ปี" และวงรอบปัจจุบันคือปี 2021
    • วงรอบก่อนคือปี 2020
    • วงรอบถัดไปคือปี 2022

*** ระบบสามารถขยับวงรอบของเอกสารให้โดยอัตโนมัติ เมื่อวันที่ของ session และวันที่ของเซิร์ฟเวอร์ตกอยู่ใน "วงรอบถัดไป" ทั้ง 2 ค่า

*** ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติไม่สามารถใช้กับเอกสารที่ลงวันที่นอกเหนือจาก 3 วงรอบที่ตั้งไว้ได้ ผู้ใช้สามารถตั้งเลขที่เอกสารด้วยตนเอง หรือเข้ามาเปลี่ยนวงรอบและเลขลำดับที่เมนูนี้ก่อนก็ได้

ตั้งค่าระบบ

เพจตั้งค่าของคูนิฟ็อกซ์แยกออกเป็นหลายแท็บ ผู้ใช้สามารถตั้งค่าที่ต้องการในทุกๆ แท็บแล้วคลิกปุ่ม "ตั้งค่า" เพื่อบันทึก

คำอธิบายช่องข้อมูล

ในบทนี้ จะกล่าวถึงช่องข้อมูลในแท็บ "เลขที่เอกสาร" และ "พื้นฐาน" เท่านั้น รายละเอียดของช่องข้อมูลในแท็บอื่นๆ จะอธิบายในหัวข้อย่อยภายใต้แต่ละโมดูลอีกครั้ง

เพจ "ตั้งค่าระบบ"
เพจ "ตั้งค่าระบบ"
แท็บ "เลขที่เอกสาร"
วงรอบเอกสาร วงรอบในการรีเซ็ตเลขลำดับของเอกสาร สามารถเลือกตั้งค่าเป็น
  • วัน
  • เดือน
  • ปี
แยกเลขที่เอกสารของแต่ละแผนก ให้แต่ละแผนกใช้เลขลำดับแยกชุดกัน
รูปแบบเลขที่เอกสาร ข้อมูลและลำดับของข้อมูลที่จะใช้สร้างเลขที่เอกสาร

*** ดูรายละเอียดการกำหนดค่าในหัวข้อรูปแบบเลขที่เอกสารด้านล่าง

เพจ "ตั้งต่าระบบ" (แท็บพื้นฐาน)
เพจ "ตั้งต่าระบบ" (แท็บพื้นฐาน)
"แท็บ "พื้นฐาน"
โมดูลสำหรับตารางรหัสอ้างอิง
ตารางรหัสแผนก โมดูลเจ้าของตารางรหัส "แผนก"
ตั้งเวลาการทำงานอัตโนมัติ
คำนวณข้อมูลใหม่ เลือกเวลาและวันในสัปดาห์ที่ต้องการคำนวณข้อมูลใหม่โดยอัตโนมัติ
สำรองข้อมูล เลือกเวลาและวันในสัปดาห์ที่ต้องการสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติ
สีพื้นหลังแถบชื่อบริษัทและแถบเมนู
สีแถบชื่อบริษัท เลือกสีแถบบริษัท/วันที่ หรือทำเครื่องหมายในช่อง "ใช้สีตามธีม" เพื่อใช้สีจากธีมปกติของโปรแกรม
สีแถบเมนู เลือกสีแถบเมนู หรือทำเครื่องหมายในช่อง "ใช้สีตามธีม" เพื่อใช้สีจากธีมปกติของโปรแกรม

รูปแบบเลขที่เอกสาร

การตั้งค่ารูปแบบเลขที่เอกสาร มีหลักการคือ ข้อความที่ตายตัวให้ระบุได้โดยตรง ส่วนข้อความที่เปลี่ยนไปตามข้อมูลในเอกสารให้ระบุชนิดข้อมูลไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม (วงเล็บก้ามปู: [ ]) เช่น หากต้องการเลขที่เอกสารตามตัวอย่าง

ARR ( ซีรี่ส์เอกสาร ) - HQ ( แผนก ) - 2021 ( ปี (ค.ศ. 4 หลัก) ) 12 ( เดือน ) 31 ( วันที่ ) / 00053 ( เลขลำดับ 5 หลัก )


ให้ตั้งค่ารูปแบบเอกสารดังนี้

[SER]-[SEC]-[Y4][M][D]/[X5]

ข้อมูลของเอกสารที่สามารถเข้ารหัสอยู่ในเลขที่เอกสารได้มีดังต่อไปนี้

ความหมายของรหัสรูปแบบเอกสาร
รหัสรูปแบบ คำอธิบาย
[SER] ซีรีส์ของเอกสาร

*** ดู/แก้ไขซีรีส์เอกสารที่สามารถใช้ฟังก์ชันเลขที่อัตโนมัติได้ที่เมนูย่อย "เลขที่เอกสาร"

[SEC] ตัวย่อของแผนก

*** ดูและแก้ไขข้อมูลของแต่ละแผนกได้ที่ตารางรหัส "แผนก"

*** "ตัวย่อ" ของแผนกอาจเหมือนหรือไม่เหมือนกับ "รหัส" แผนก ก็ได้

[Y4] ปี ค.ศ. (4 หลัก) เช่น 2021
[Y2] ปี ค.ศ. (2 หลัก) เช่น 21
[YB4] ปี พ.ศ. (4 หลัก) เช่น 2564
[YB2] ปี พ.ศ. (2 หลัก) เช่น 64
[M] เดือน (2 หลัก) คือ 01 แทนเดือนมกราคม ถึง 12 แทนเดือนธันวาคม
[D] วันที่ (2 หลัก) คือ 01 ถึง 28, 29, 30, หรือ 31
[XN] เลขลำดับเอกสาร (N หลัก: N เป็นจำนวนเต็ม) เช่น [X5] คือ 00001, 00002, 00003, …

*** การเปลี่ยนค่าเกี่ยวกับเลขที่เอกสารระหว่างวงรอบอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่ไม่คาดคิดได้ โปรดไปที่เมนูย่อย "เลขที่เอกสารอัตโนมัติ" เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง

การใช้งานฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติ

ช่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเลขที่เอกสาร, เลขที่ใบกำกับฯ, เลขที่เอกสารอ้างอิงต่างๆ ในระบบคูนิฟ็อกซ์มีหลายช่องที่สามารถใช้ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติได้ ทั้งนี้ โปรดศึกษาฟังก์ชันที่รองรับจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องในคู่มือ

การใช้งานฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติ
การใช้งานฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติ

ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติมี 2 รูปแบบ ได้แก่:

  • เลขที่เอกสารใหม่อัตโนมัติ (**NEW**): ระบบจะอ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลเลขที่เอกสาร (เมนูย่อย "จัดการซีรีส์เอกสาร") แล้วสร้างเลขที่เอกสารจากเลขลำดับถัดไปให้โดยอัตโนมัติ ช่องข้อมูลที่รองรับฟังก์ชันนี้ มักจะมีค่าตั้งต้นเป็น XXX**NEW** (XXX เป็นซีรีส์เอกสาร: หมายเลข 1) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ดังนี้:
    • ทิ้งค่าไว้ตามเดิม หรือ เปลี่ยนเฉพาะซีรีส์เอกสาร XXX เป็นซีรีส์ที่ต้องการ: หากเป็นซีรีส์ที่สามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้ ระบบจะสร้างเลขที่เอกสารให้โดยอัตโนมัติ
    • ระบุเลขที่เอกสารด้วยตนเอง
  • รอเลขที่เอกสารอัตโนมัติจากช่องอื่น (??WAIT??): ระบบจะรอข้อมูลเลขที่เอกสารจากช่องที่กำหนดไว้ แล้วใช้เลขเดียวกัน (เช่น เลขที่ใบกำกับภาษีขาย ที่ต้องการใช้เลขเดียวกันกับเลขที่ใบส่งสินค้า เป็นต้น) ช่องข้อมูลที่รองรับฟังก์ชันนี้ มักมีค่าตั้งต้นเป็น ??WAIT?? (หมายเลข 2: ช่องข้อมูลเหล่านี้หลายช่องรองรับฟังก์ชัน **NEW** ด้วยเช่นกัน) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ดังนี้:
    • ทิ้งค่าไว้ตามเดิม: ระบบจะดึงค่าที่สำเร็จแล้วจากช่องข้อมูลอื่นมากรอกให้โดยอัตโนมัติ
    • ถ้าช่องข้อมูลนี้รองรับฟังก์ชัน **NEW** ผู้ใช้สามารถกรอก XXX**NEW** (XXX เป็นซีรีส์เอกสารที่ต้องการ) ได้
    • ระบุเลขที่เอกสารด้วยตนเอง

กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี

เนื่องจากธุรกรรมบางชนิดต้องมีการบันทึกสมุดรายวันกำกับด้วย ผู้ใช้สามารถกำหนดวิธีการบันทึกสมุดรายวันสำหรับธุรกรรมชนิดต่างๆ ได้ที่เมนูย่อยนี้

      เพจ "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี"
      เพจ "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี"
    1. เมื่อเลือกเมนูย่อย "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี" ระบบจะแสดงรายชื่อโมดูลที่เปิดใช้งานอยู่
    2. เพจ "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี" (โมดูลสินค้าคงคลัง)
      เพจ "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี" (โมดูลสินค้าคงคลัง)
    3. เลือกโมดูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องการดู/แก้ไข (ในตัวอย่างนี้เลือก "สินคาคงคลัง")
    4. เพจ "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี" (โมดูลสินค้าคงคลัง: ใบซื้อ/รับสินค้า)
      เพจ "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี" (โมดูลสินค้าคงคลัง: ใบซื้อ/รับสินค้า)
    5. เลือกหัวข้อกิจกรรมที่ต้องการดู/แก้ไข (ในตัวอย่างนี้เลือก "ใบซื้อ/รับสินค้า")
    6. ดู/เพิ่ม/แก้ไขค่าตามต้องการ (ดูหัวข้อตารางในระบบคูนิฟ็อกซ์ประกอบ)

*** ผู้ใช้ควรจัดการตารางรหัส "ผังบัญชี" ให้เรียบร้อยก่อนที่เริ่มตั้งค่าในส่วนนี้

คำอธิบายช่องข้อมูล

รหัสรูปแบบ คำอธิบาย
สมุด รหัสสมุดรายวันที่ใช้บันทึก
ค่าจากเอกสาร ข้อมูลในใบสำคัญที่จะนำตัวเลขมาใช้ลงบัญชี
Dr./Cr. บันทึกเป็นรายการเดบิตหรือเครดิต

*** กรณีค่าที่จะบันทึกติดลบ ระบบจะสลับข้างบันทึกบัญชีโดยอัตโนมัติ

คำอธิบายรายการ คำอธิบายของรายการทางบัญชี
ใช้ตารางรหัส หารหัสบัญชีที่ผูกไว้ในตารางรหัสที่เกี่ยวข้องก่อน หากไม่มีข้อมูลที่ผูกกันไว้หรือหาผังบัญชีดังกล่าวไม่พบ จึงใช้ผังบัญชีตามตารางนี้

*** เช่น รายการ "เจ้าหนี้" จะหาผังบัญชีในช่องข้อมูล "รหัสบัญชี" (ผังบัญชีเจ้าหนี้รายตัว) ของผู้ขายรายนี้ก่อน หากไม่ได้ระบุไว้หรือระบุไว้แต่ผังบัญชีนั้นได้ถูกลบไปแล้ว โปรแกรมถึงจะเลือกใช้ผังบัญชีตามที่ระบุในตารางนี้

รหัส/ชื่อบัญชี รหัสบัญชีแยกประเภทที่ใช้บันทึกบัญชี

*** รายละเอียดของการบันทึกบัญชีในแต่ละหัวเรื่อง จะยกไปกล่าวในบทของโมดูลที่เกี่ยวข้อง

จัดการรูปแบบการพิมพ์

รูปแบบการพิมพ์ หมายรวมถึง ไฟล์ต้นแบบ (template) สำหรับการพิมพ์เอกสารและรายงานต่างๆ รวมไปถึงไฟล์ประกอบต่างๆ เช่น ภาพที่ใช้ในการพิมพ์เอกสาร และไฟล์พื้นหลังต่างๆ

ตำแหน่งเก็บไฟล์

ในระบบคูนิฟ็อกซ์ ไฟล์เหล่านี้จะแบ่งเก็บเอาไว้ 2 ตำแหน่ง ได้แก่

  1. ไฟล์ตั้งต้นของระบบ: เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลส่วนกลางของโปรแกรม
  2. ไฟล์เฉพาะของแต่ละบริษัท: เก็บอยู่ในแฟ้มย่อยภายใต้ตำแหน่งเก็บข้อมูลของบริษัทนั้นๆ เมื่อแต่ละบริษัทเริ่มใช้งานครั้งแรก จะยังไม่มีไฟล์ใดอยู่ในแฟ้มนี้เลย

เมื่อผู้ใช้สั่งพิมพ์เอกสารหรือรายงาน โปรแกรมจะพยายามค้นหาไฟล์รูปแบบการพิมพ์จากแฟ้มเฉพาะของบริษัทที่กำลังใช้งานอยู่ก่อน ถ้าไม่พบไฟล์ โปรแกรมจึงจะใช้ไฟล์ตั้งต้นของระบบ ดังนั้น หากผู้ใช้ต้องการใช้รูปแบบการพิมพ์ของตัวเอง ก็สามารถทำได้โดยอัพโหลดไฟล์ที่ต้องการเอาไว้ที่แฟ้มเฉพาะของบริษัทได้ พร้อมตั้งชื่อไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนด

ชนิดของไฟล์แบ่งตามหน้าที่ของไฟล์

ไฟล์ในกลุ่มรูปแบบการพิมพ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

  1. ไฟล์ต้นแบบ (template) มีหน้าที่กำหนดรูปแบบของเอกสาร รวมไปถึงตำแหน่งของข้อมูลต่างๆ บนหน้ากระดาษ, ช่องที่มาของข้อมูลที่แสดง, คำสั่งประมวลผลข้อมูลขณะพิมพ์

    ไฟล์กลุ่มนี้เป็นไฟล์เวกเตอร์กราฟิกสกุล SVG (สร้างโดยซอฟต์แวร์เวกเตอร์กราฟิกต่างๆ เช่น Inkscape, Adobe Illustrator เป็นต้น)

  2. ไฟล์ภาพ ซึ่งสามารถสั่งให้ปรากฏในเอกสารที่พิมพ์ออกมาได้ ไฟล์ภาพอาจเป็นชนิด JPG, GIF, หรือ PNG ก็ได้

    เพื่อที่จะใช้รูปแบบการพิมพ์ตั้งต้นของระบบได้เต็มที่ ผู้ใช้ของแต่ละบริษัทควรเพิ่มไฟล์ภาพ 3 ไฟล์ต่อไปนี้ไว้ในแฟ้มเฉพาะของบริษัท

    • LOGO.png: สัญลักษณ์หรือโลโก้ของบริษัท (ภาพนี้จะปรากฏที่หัวเอกสารทั้งหมด: ถ้าหาไฟล์ไม่พบ ระบบจะใช้ภาพตั้งต้นแทน)
    • SIGN.png: ลายมือชื่อผู้มีอำนาจ (ภาพนี้จะปรากฏท้ายเอกสารต่างๆ: ถ้าหาไฟล์ไม่พบ ระบบจะไม่แสดงภาพ)
    • STAMP.png: ตราประทับของบริษัท (ภาพนี้จะปรากฏท้ายเอกสารทางภาษีต่างๆ: ถ้าหาไฟล์ไม่พบ ระบบจะไม่แสดงภาพ)
  3. ไฟล์พื้นหลัง เป็นไฟล์ชนิด PDF ซึ่งสามารถสั่งให้ซ้อนเป็นพื้นหลังของเอกสารที่พิมพ์ออกมาได้ เช่น แบบฟอร์มเปล่าต่างๆ

การตั้งชื่อไฟล์ต้นแบบ

ในกรณีพื้นฐานที่สุด ไฟล์ต้นแบบจะใช้ชื่อ XXX.svg สำหรับเอกสารทั่วไป หรือ GL_XXX.svg สำหรับบันทึกสมุดรายวัน (XXX เป็นซีรีส์เอกสารหรือรหัสรายงาน) ที่ใช้ไฟล์ต้นแบบนี้ ในกรณีที่ซับซ้อนขึ้น ให้ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้

  • หากเอกสารใดต้องใช้ต้นแบบการพิมพ์มากกว่า 1 แบบ เช่น เอกสารส่งสินค้า ต้องพิมพ์เป็นใบกำกับภาษี, สำเนาใบกำกับภาษี, ใบส่งของ, ใบเสร็จ, สำเนาใบเสร็จ รวม 5 เอกสาร เป็นต้น ให้ตั้งชื่อไฟล์ต้นแบบ เป็น XXX_1.svg, XXX_2.svg, XXX_3.svg, …, XXX_9.svg
  • หากต้องการเอกสารที่มีหน้าแรกแตกต่างไปจากหน้าอื่นๆ เช่น หน้าแรกมีจำนวนรายการไม่เท่ากับหน้าอื่นๆ หรือ หน้าแรกมีข้อความที่แตกต่างจากหน้าอื่นๆ เป็นต้น ให้ตั้งชื่อไฟล์ต้นแบบสำหรับหน้าแรกเป็น XXX_P.svg หรือ XXX_N_P.svg (N เป็นเลข 1–9) แล้วแต่กรณี

การใช้งาน

เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์"
เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์"
  1. เมื่อผู้ใช้เลือกเมนูย่อย "จัดการรูปแบบการพิมพ์" แล้ว โปรแกรมจะแสดงตารางขึ้นมา 2 ตาราง
    • ตารางซ้ายแสดงรูปแบบการพิมพ์ตั้งต้นของระบบ ผู้ใช้จะไม่สามารถเพิ่ม/แก้ไข/ลบไฟล์ได้แต่สามารถดาวน์โหลดไฟล์เพื่อใช้เป็นตัวอย่างได้
    • ตารางขวาแสดงรูปแบบการพิมพ์ในแฟ้มเฉพาะของบริษัทเอง
  2. การจัดการไฟล์ต่างๆ มีขั้นตอนตามแสดงในหัวข้อย่อยต่อไปนี้

การดาวน์โหลดไฟล์ที่มีอยู่แล้ว

      เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์" (เลือกไฟล์เพื่อดาวน์โหลด)
      เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์" (เลือกไฟล์เพื่อดาวน์โหลด)
    1. เลือกไฟล์ที่ต้องการดาวน์โหลด (ในที่นี้เลือก BMB.svg จากตารางไฟล์ตั้งต้น)
    2. หน้าต่างแสดงไฟล์ต้นแบบการพิมพ์
      หน้าต่างแสดงไฟล์ต้นแบบการพิมพ์
    3. กดปุ่ม ปุ่มเปิดไฟล์/หน้าต่างฟอร์ม หรือ ปุ่มแก้ไขรายการ ในตารางไฟล์ฝั่งที่เลือก เพื่อเปิดหน้าต่างรายละเอียดไฟล์ หากไฟล์ที่เลือกเป็นไฟล์ภาพ หรือ ไฟล์ต้นแบบ จะเห็นตัวอย่างไฟล์ในหน้าต่างนี้ด้วย
    4. การเปิดไฟล์รูปแบบการพิมพ์เพื่อดาวน์โหลด
      การเปิดไฟล์รูปแบบการพิมพ์เพื่อดาวน์โหลด
    5. กดปุ่ม ปุ่มเปิดไฟล์/หน้าต่างฟอร์ม ข้างช่องข้อมูลไฟล์ หรือคลิกที่ภาพตัวอย่างไฟล์ ระบบจะเปิดไฟล์จริงในแท็บใหม่ผู้ใช้สามารถบันทึกไฟล์ได้โดยใช้เมนูของบราวเซอร์ File → Save Page As… หรือกด Ctrl+S

การอัพโหลดไฟล์

    1. กดปุ่ม ปุ่มเพิ่มรายการ ในตารางไฟล์เฉพาะของบริษัท ระบบจะเปิดหน้าต่างรายละเอียดไฟล์
    2. หน้าต่างอัพโหลดไฟล์ต้นแบบการพิมพ์
      หน้าต่างอัพโหลดไฟล์ต้นแบบการพิมพ์
    3. เลือกไฟล์ที่ต้องการอัพโหลด แล้วตั้งชื่อไฟล์ในช่อง "ชื่อสำหรับอัพโหลด" จากนั้นกด "ตกลง" เพื่อยืนยันการอัพโหลด

การเปลี่ยนชื่อไฟล์

      เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์" (เลือกไฟล์เพื่อแก้ไข)
      เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์" (เลือกไฟล์เพื่อแก้ไข)
    1. เลือกไฟล์ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อในตารางไฟล์ต้นแบบของบริษัท แล้วกดปุ่ม ปุ่มแก้ไขรายการ ระบบจะแสดงหน้าต่างรายละเอียดไฟล์
    2. หน้าต่างแก้ไขไฟล์ต้นแบบการพิมพ์
      หน้าต่างแก้ไขไฟล์ต้นแบบการพิมพ์
    3. แก้ไขชื่อไฟล์ แล้วกด "ตกลง" เพื่อยืนยันการแก้ไข

การลบไฟล์

      เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์" (เลือกไฟล์เพื่อลบ)
      เพจ "จัดการรูปแบบการพิมพ์" (เลือกไฟล์เพื่อลบ)
    1. เลือกไฟล์ที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม ระบบจะแสดงหน้ายืนยันการลบไฟล์
    2. หน้าต่างยืนยันการลบรูปแบบการพิมพ์
      หน้าต่างยืนยันการลบรูปแบบการพิมพ์
    3. กด "ตกลง" เพื่อยืนยันการลบไฟล์ หรือ "ยกเลิก" เพื่อยกเลิกการลบไฟล์

จัดการรูปแบบ QR Code

ระบบคูนิฟ็อกซ์มีฟังก์ชันสำหรับสร้าง QR code จ่าย/รับชำระชนิดระบุจำนวนเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกในการจ่าย/รับชำระเงินโอน

*** การใช้งานเมนูย่อยนี้เหมือนกับเมนูย่อย "จัดการรูปแบบการพิมพ์"

*** ระบบ QR code ของคูนิฟ็อกซ์อ้างอิงระบบ PromptPay ซึ่งใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร/เลขประจำตัวประชาชนระบุตัวตน ดังนั้น ระบบจะสร้างไฟล์ QR code ได้ก็ต่อเมื่อ

ไฟล์ที่สำคัญในการสร้าง QR Code

  • MoneyQR_master.svg: ไฟล์ต้นแบบสำหรับ QR Code รับชำระเงิน
  • LOGO.png: ภาพสัญลักษณ์หรือโลโก้ของบริษัท

เพิ่มแบบตัวอักษร

เพจ "เพิ่มแบบตัวอักษร"
เพจ "เพิ่มแบบตัวอักษร"

กรณีผู้ใช้ต้องการใช้แบบอักษรที่ไม่ได้ติดตั้งไว้ในเซิร์ฟเวอร์เพื่อสร้างไฟล์ต้นแบบการพิมพ์ ผู้ใช้จะต้องอัพโหลดไฟล์แบบอักษร (ชนิด TTF หรือ OTF) เข้าสู่เซิร์ฟเวอร์เพื่อติดตั้งด้วย โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกเมนูย่อย "เพิ่มแบบตัวอักษร"
  2. เลือกไฟล์สำหรับอัพโหลด (ต้องเป็นไฟล์ชนิด ZIP: ภายในมีไฟล์แบบอักษร TTF หรือ OTF และอาจมีไฟล์อื่นๆ เช่น ไฟล์ลิขสิทธิ์ต่างๆ ด้วยก็ได้)
  3. กดปุ่ม "อัพโหลด" ระบบจะอ่านไฟล์ที่อัพโหลด แล้วแสดงรายการไฟล์แบบอักษรที่พบ
  4. ตรวจสอบว่าระบบอ่านพบไฟล์แบบอักษรที่ต้องการ จากนั้นกด "ดำเนินการต่อ"