ฟอร์มในระบบคูนิฟ็อกซ์

จาก คูนิฟ็อกซ์ วิกิ

ชนิดของช่องข้อมูล

ฟอร์มภายใต้โมดูลมาตรฐานของคูนิฟ็อกซ์ประกอบด้วยช่องข้อมูลต่างๆ ดังนี้

องค์ประกอบของฟอร์มในระบบคูนิฟ็อกซ์
องค์ประกอบของฟอร์มในระบบคูนิฟ็อกซ์
  • ช่องกรอกข้อความ (หมายเลข 1): สำหรับกรอกข้อความประเภทบรรทัดเดียว นอกจากข้อความปกติแล้ว โปรแกรมคูนิฟ็อกซ์สามารถจัดรูปแบบข้อมูลอัตโนมัติสำหรับช่องข้อความที่กำหนดชนิดข้อมูลเอาไว้ (ในตัวอย่างต่อไปนี้ กำหนดให้วันที่ของ session เป็นวันที่ 01 ธันวาคม ค.ศ. 2022):
    • วันที่: ผู้ใช้สามารถเลือกกรอกข้อมูลได้ดังนี้ (ใช้วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เป็นตัวอย่าง):
      • กรอกในรูปแบบตามที่บริษัทตั้งค่าไว้ (31/12/2022)
      • กรอกข้อมูลโดยไม่ใส่เครื่องหมายคั่นวันที่ (31122022)
      • กรอกเฉพาะวันที่และเดือน โดยระบบจะใช้ปีตามวันที่ของ session (3112)
      • กรอกเฉพาะวันที่ โดยระบบจะใช้เดือนและปีตามวันที่ของ session (31)
    • เดือน: ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลได้ดังนี้ (ใช้เดือน ธันวาคม ค.ศ. 2022 เป็นตัวอย่าง):
      • กรอกในรูปแบบตามที่บริษัทตั้งค่าไว้ (12/2022)
      • กรอกข้อมูลโดยไม่ใส่เครื่องหมายคั่นวันที่ (122022)
      • กรอกเฉพาะเดือน โดยระบบจะใช้ปีตามวันที่ของ session (12)
    • เวลา: ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลได้ดังนี้ (ใช้เวลา 15 นาฬิกา 0 นาที 0 วินาที เป็นตัวอย่าง):
      • กรอกในรูปแบบตามที่บริษัทตั้งค่าไว้ (15:00:00)
      • กรอกข้อมูลโดยไม่ใส่เครื่องหมายคั่นเวลา โดยใช้รูปแบบเวลา 24 ชั่วโมง (150000)
      • กรอกเฉพาะชั่วโมงและนาที ระบบจะใส่ค่า 0 แทนค่าวินาทีโดยอัตโนมัติ (1500)
      • กรอกเฉพาะชั่วโมง ระบบจะใส่ค่า 0 แทนค่านาทีและวินาทีโดยอัตโนมัติ (15)
    • ค่าจำนวนเต็ม: ระบบจะปัดค่าทศนิยมในช่องข้อมูลที่รับจำนวนเต็มให้โดยอัตโนมัติ
    • ค่าทศนิยม และร้อยละ: ระบบจะปัดค่าทศนิยมที่ผู้ใช้กรอกให้มีความละเอียดตามที่ตั้งค่าไว้ พร้อมใส่เครื่องหมายคั่นหลักพัน/หมื่นตามที่กำหนด
  • ช่องกรอกข้อความหลายบรรทัด (หมายเลข 2): ใช้ปุ่ม Ctrl+↵ Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ ช่องข้อมูลประเภทนี้สามารถยืดหดในแนวตั้งได้ โดยผู้ใช้คลิกค้างบริเวณสามเหลี่ยมที่มุมขวาล่างของช่องกล่องข้อความค้างไว้ แล้วขยับเมาส์
  • ช่องเลือกไฟล์ (หมายเลข 3): ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • ตัวช่องข้อมูล: ผู้ใช้สามารถคลิกในบริเวณของช่องข้อมูล ระบบจะเปิดหน้าต่างเลือกไฟล์ขึ้นมา
    • ชุดปุ่มเครื่องมือ: มี 4 ปุ่ม ได้แก่
      • ปุ่ม ปุ่มเปิดไฟล์ ใช้เปิดไฟล์ที่เลือกอยู่ปัจจุบันในแท็บใหม่ เพื่อดูภาพขนาดเต็ม (กรณีเป็นไฟล์รูปภาพ) หรือดาวน์โหลดไฟล์
      • ปุ่ม ปุ่มถ่ายภาพ ใช้แนบรูปถ่าย เมื่อกดปุ่มนี้ ระบบจะเปิดหน้าต่างอัพโหลดจากกล้อง เพื่อให้ผู้ใช้ถ่ายภาพที่ต้องการแนบ
      • ปุ่ม ปุ่มยกเลิกการแก้ไข ใช้ยกเลิกการเปลี่ยนแปลงค่า เมื่อกดปุ่มนี้ ไฟล์ที่เลือกไว้จะกลับไปเป็นไฟล์เดิมในฐานข้อมูล (ถ้าในฐานข้อมูลยังไม่มีไฟล์เก็บไว้ ปุ่มนี้จะทำงานเหมือนปุ่ม ปุ่มยกเลิกการเลือกไฟล์ )
      • ปุ่ม ปุ่มยกเลิกการเลือกไฟล์ ใช้ล้างข้อมูลไฟล์

        *** หลังจากบันทึกข้อมูล ไฟล์จะถูกบันทึกในแฟ้มที่กำหนดไว้ภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยระบบคูนิฟ็อกซ์จะสร้างข้อความสุ่มขึ้นมาตั้งเป็นชื่อไฟล์โดยอัตโนมัติ

        *** กรณีที่ช่องข้อมูลรองรับไฟล์ภาพ ผู้ใช้อาจเห็นช่องแสดงตัวอย่างภาพ (หมายเลข 4) หากผู้ใช้คลิกที่ตัวอย่างภาพ ระบบจะเปิดไฟล์นั้นในแท็บใหม่

  • ช่องทำเครื่องหมาย (หมายเลข 5): คลิกที่ช่องหรือข้อความประจำช่องเพื่อทำเครื่องหมายหรือยกเลิกการทำเครื่องหมาย
การใช้งานหน้าต่างค้นหา
การใช้งานหน้าต่างค้นหา
  • ช่องค้นหา (หมายเลข 6): ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล ข้่อมูลในช่องข้อความลักษณะนี้ที่ต้องอ่านจากฐานข้อมูลเท่านั้น มีรายละเอียดการใช้งานดังนี้:
    • กรอกข้อความค้นหาเบื้องต้น แล้วใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม ปุ่มค้นหา ทางขวาของช่อง ระบบจะเปิดหน้าต่างค้นหาขึ้น และกรอกข้อความค้นหาลงในแถบค้นหาของตารางให้โดยอัตโนมัติ หรือ
    • กรอกข้อความค้นหาเบื้องต้น แล้วกดปุ่ม ↵ Enter หรือ Tab ↹ หรือคลิกที่อื่นบนหน้าจอ ระบบจะค้นหาเฉพาะรายการที่มีรหัสขึ้นต้นด้วยข้อความค้นหา
      • หากพบเพียงรายการเดียว ระบบจะเลือกรายการนั้นให้โดยอัตโนมัติ
      • หากไม่พบหรือพบมากกว่า 1 รายการ ระบบจะเปิดหน้าต่างค้นหา พร้อมแสดงรายการทั้งหมดที่พบ
    *** กรณีที่ระบบเปิดหน้าต่างค้นหาขึ้น ให้ผู้ใช้เลือกรายการที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "ตกลง" ด้านล่างของหน้าต่าง (ผู้ใช้สามารถเลือกรายการด้วยคีย์บอร์ด แล้วกดปุ่ม ↵ Enter เพื่อยืนยันการเลือก ตามรายละเอียดในหัวข้อตารางในระบบคูนิฟ็อกซ์ก็ได้)
  • ช่องเลือกข้อมูล (หมายเลข 7): ให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลจากตัวเลือกที่กำหนดไว้

*** ช่องข้อมูลบางช่องอาจถูกปิดกั้นการเปลี่ยนแปลงค่าเอาไว้ ช่องข้อมูลเหล่านี้มักจะเป็นข้อมูลที่กรอกหรือคำนวณโดยอัตโนมัติ หรือเป็นค่าที่ไม่อนุญาตให้แก้ไขหลังจากเพิ่มรายการไปเรียบร้อยแล้ว

การใช้งานฟอร์มด้วยคีย์บอร์ด

เมื่อโฟกัสของโปรแกรมอยู่ในช่องข้อมูลต่างๆ ของฟอร์ม ผู้ใช้สามารถสั่งการฟอร์มด้วยปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดดังนี้

  • Tab ↹: เปลี่ยนโฟกัสไปยังช่องถัดไป
  • ↵ Enter:
    • กรณีมีช่องข้อมูลถัดไป: เปลี่ยนโฟกัสไปยังช่องถัดไป
    • กรณีไม่มีช่องข้อมูลถัดไป: ยืนยันการบันทึกข้อมูลในฟอร์ม
  • ⇧ Shift+Tab ↹ หรือ ⇧ Shift+↵ Enter: เปลี่ยนโฟกัสไปยังช่องก่อนหน้า
  • Space:
    • สำหรับช่องทำเครื่องหมาย: ทำเครื่องหมาย/ยกเลิกการทำเครื่องหมาย
    • สำหรับช่องเลือกข้อมูล: แสดงตัวเลือกทั้งหมด
    • สำหรับช่องข้อมูลประเภทไฟล์: แสดงหน้าต่างเลือกไฟล์
  • Alt+↵ Enter: ยืนยันบันทึกข้อมูลในฟอร์ม
  • หรือ : เลือกตัวเลือกก่อนหน้า (สำหรับช่องเลือกข้อมูล)
  • หรือ : เลือกตัวเลือกถัดไป (สำหรับช่องเลือกข้อมูล)
  • PageUp: เลือกตัวเลือกแรก (สำหรับช่องเลือกข้อมูล)
  • PageDown: เลือกตัวเลือกสุดท้าย (สำหรับช่องเลือกข้อมูล)