ข้อมูลพื้นฐานของระบบคูนิฟ็อกซ์

จาก คูนิฟ็อกซ์ วิกิ

ในบทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่จำเป็นในการติดตั้งและการใช้งาน รวมไปถึงข้อมูลทางจำเพาะทางเทคนิคบางส่วน เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าใจถึงความสามารถ และข้อควรระวังในการใช้ระบบคูนิฟ็อกซ์

ความต้องการของระบบ

เครื่องเซิร์ฟเวอร์

เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (server) เป็นเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมและเก็บข้อมูลทั้งหมด มีความต้องการขั้นต่ำดังนี้

  • หน่วยเก็บข้อมูล solid-state drive
ขนาดขั้นต่ำของหน่วยเก็บข้อมูล
หัวข้อการใช้งาน ขนาดขั้นต่ำ
ติดตั้งระบบและโปรแกรม 10 GB
ตารางรหัส (ไม่รวมไฟล์แนบหรือภาพ) 10 – 20 MB
ข้อมูลแต่ละเดือน (ไม่รวมไฟล์แนบหรือภาพ) 5 – 20 MB / เดือน
  • ระบบปฏิบัติการ: Ubuntu Linux 18.04 ขึ้นไป (หรือระบบอื่นที่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ตามรายการต่อไปนี้)
ซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ต้องติดตั้งในเซิร์ฟเวอร์
รายการ เวอร์ชันขั้นต่ำ
python3 3.8
pdftk 2.02
sqlite3 3.24
inkscape 1.0

เครื่องลูกข่าย

เครื่องลูกข่าย (client) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ผู้ใช้ใช้เข้าถึงและทำงานกับระบบคูนิฟ็อกซ์ มีความต้องการขั้นต่ำดังนี้

ซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ต้องติดตั้งในเครื่องลูกข่ายสำหรับการใช้งานรูปแบบต่างๆ
การใช้งาน ซอฟต์แวร์
การใช้งานทั่วไป (จำเป็น) โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
  • Mozilla Firefox 88+
  • Google Chrome 90+
  • เบราว์เซอร์อื่นที่พัฒนาจาก Chromium 90+ (เช่น Microsoft Edge)
กรณีต้องการใช้งานไฟล์ PDF ภายนอกเว็บเบราว์เซอร์ โปรแกรมอ่านไฟล์ PDF เช่น
  • Adobe Reader
  • Adobe Acrobat
  • Evince
  • Foxit Reader
กรณีต้องการทำงานกับไฟล์กระดาษทำการ (spreadsheet) ที่ส่งออกมาจากโปรแกรม โปรแกรมกระดาษทำการที่สามารถอ่าน/แก้ไขไฟล์สกุล XLSX ได้ เช่น
  • LibreOffice
  • OpenOffice.org
  • Microsoft Excel
  • Gnumeric
  • หรือจะใช้บริการโปรแกรมออนไลน์ เช่น Google Sheet ก็ได้
กรณีต้องการแก้ไขไฟล์รูปแบบการพิมพ์

โปรแกรมเวกเตอร์กราฟิก (vector graphic) เช่น

  • InkScape
  • Adobe Illustrator
กรณีต้องการทำงานกับไฟล์สกุล ZIP (ไฟล์รวม เมื่อโปรแกรมส่งออกไฟล์มากกว่า 1 ไฟล์พร้อมกัน)

โปรแกรมที่สามารถเปิดไฟล์ ZIP ได้ เช่น

  • IZArc
  • WinRAR
กรณีต้องการทำงานกับไฟล์ฐานข้อมูลในชุดข้อมูลสำรอง
  • ต้องติดตั้ง SQLite 3.24+
  • แนะนำให้ติดตั้ง DB Browser for SQLite (sqlitebrowser) เพิ่มเติมเพื่อความสะดวก

โครงสร้างข้อมูล

ตารางรหัส, Static ID, และแท็ก

Static ID

ข้อดีของการใช้ static ID

ข้อควรระวังในการใช้ static ID

แท็กรายการ

พฤติกรรมในการแก้ไขเอกสาร

asdasf