เมนู "ตารางรหัส/การตั้งค่า"
จัดการตารางรหัส
ตารางรหัสเป็นส่วนเก็บข้อมูลที่ค่อนข้างคงที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงให้กับข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ผู้ใช้ในแต่ละสถานประกอบการควรสร้างข้อตกลงภายในเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและรูปแบบของตารางรหัสต่างๆ เป็นขั้นตอนแรกๆ ของการเริ่มใช้งานระบบคูนิฟ็อกซ์ ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนของข้อมูล และความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานต่อไปในอนาคต
แต่ละโมดูลจะมาพร้อมกับตารางรหัสของตัวเอง บางตารางรหัสจะมีค่าตั้งต้นเอาไว้ให้แล้วในขณะที่บางตารางรหัสจะเริ่มต้นด้วยฐานข้อมูลเปล่า
- เมื่อผู้ใช้เลือกเมนูย่อย "จัดการตารางรหัส" แล้ว โปรแกรมจะเข้าสู่เพจเลือกตารางรหัส
- คลิกเลือกตารางรหัสที่ต้องการอ่าน/แก้ไขข้อมูล โปรแกรมจะเข้าสู่เพจของตารางรหัสที่เลือก
- ตารางรหัสส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นตารางเดี่ยว (ดูวิธีใช้งานตารางได้ที่หัวข้อ "ตารางในระบบคูนิฟ็อกซ์")
- ตารางรหัสที่มีโครงสร้างซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ฟอร์มและตารางร่วมกันในการแสดงค่า (ดูวิธีการใช้งานได้ที่ "การใช้งานหน้าจอเอกสาร")
*** โครงสร้างและความหมายของช่องข้อมูลในตารางรหัสแต่ละตาราง จะยกไปกล่าวถึงในบทเฉพาะของแต่ละโมดูล
จัดการซีรีส์เอกสาร
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าวงรอบเอกสารและซีรีส์เอกสารที่ใช้งานได้ภายใต้เมนูนี้
- เมื่อเลือกเมนูย่อย "จัดการซีรีส์เอกสาร" โปรแกรมจะแสดงรายการโมดูลที่เปิดใช้งานอยู่
- เลือกโมดูลที่เกี่ยวข้องกับเอกสารที่ต้องการอ่าน/แก้ไข (ในตัวอย่างเลือกโมดูล "เจ้าหนี้/ลูกหนี้")
- อ่าน/แก้ไขรายการได้ตามต้องการ (ดูหัวข้อ ตารางในระบบคูนิฟ็อกซ์ ประกอบ)
คำอธิบายช่องข้อมูล
กลุ่มเอกสาร | ประเภทของเอกสาร (โดยปกติจะตรงกับเมนูย่อยที่ใช้เข้าถึงตัวเอกสารนั้นๆ) |
ตั้นต้น | ใช้ซีรีส์นี้เป็นซีรีส์ตั้งต้นสำหรับกลุ่มเอกสารนี้หรือไม่ |
ซีรีส์ | ซีรีส์ของเอกสาร (อาจตั้งเป็นอักษรย่อ หรือกลุ่มอักษรอื่นที่สื่อความหมายก็ได้)
*** ความยาว 3 ตัวอักษร (ตัวอักษรหรือตัวเลข) |
คำอธิบาย | คำอธิบายหรือชื่อเต็มของเอกสารในซีรีส์นั้น |
รหัสแผนก | รหัสของแผนกที่ใช้ข้อมูลในรายการนี้
*** หากระบุเป็น "ทั้งหมด" หมายถึงรายการนี้เป็นรายการสำหรับเลขที่เอกสารที่ไม่แยกแผนก หรือ ยังไม่มีแผนกใดเริ่มใช้ซีรีส์ตามรายการนี้ |
ชื่อแผนก | ชื่อของแผนกที่ใช้ข้อมูลในรายการนี้ |
(วงรอบก่อน) | เลขลำดับถัดไปสำหรับเอกสารใน "วงรอบก่อน" |
(วงรอบปัจจุบัน) | เลขลำดับถัดไปสำหรับเอกสารใน "วงรอบปัจจุบัน"
*** หากผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนวันที่ของวงรอบปัจจุบัน ทำได้โดย
|
(วงรอบถัดไป) | เลขลำดับถัดไปสำหรับเอกสารใน "วงรอบถัดไป" |
เลขที่เอกสาร 3 วงรอบ และการขยับวงรอบอัตโนมัติ
เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกเอกสารย้อนหลังหรือล่วงหน้า ระบบคูนิฟ็อกซ์จะเก็บค่าเลขลำดับเอกสารเอาไว้ 3 ชุด ดังนี้
- กรณีตั้งค่าวงรอบเอกสารเป็น "วัน" และวงรอบปัจจุบันคือวันที่ 3 ตุลาคม 2021
- วงรอบก่อนคือวันที่ 2 ตุลาคม 2021
- วงรอบถัดไปคือวันที่ 4 ตุลาคม 2021
- กรณีตั้งค่าวงรอบเอกสารเป็น "เดือน" และวงรอบปัจจุบันคือเดือนตุลาคม 2021
- วงรอบก่อนคือเดือนกันยายน 2021
- วงรอบถัดไปคือเดือนพฤศจิกายน 2021
- กรณีตั้งค่าวงรอบเอกสารเป็น "ปี" และวงรอบปัจจุบันคือปี 2021
- วงรอบก่อนคือปี 2020
- วงรอบถัดไปคือปี 2022
*** ระบบสามารถขยับวงรอบของเอกสารให้โดยอัตโนมัติ เมื่อวันที่ของ session และวันที่ของเซิร์ฟเวอร์ตกอยู่ใน "วงรอบถัดไป" ทั้ง 2 ค่า
*** ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติไม่สามารถใช้กับเอกสารที่ลงวันที่นอกเหนือจาก 3 วงรอบที่ตั้งไว้ได้ ผู้ใช้สามารถตั้งเลขที่เอกสารด้วยตนเอง หรือเข้ามาเปลี่ยนวงรอบและเลขลำดับที่เมนูนี้ก่อนก็ได้
ตั้งค่าระบบ
เพจตั้งค่าของคูนิฟ็อกซ์แยกออกเป็นหลายแท็บ ผู้ใช้สามารถตั้งค่าที่ต้องการในทุกๆ แท็บแล้วคลิกปุ่ม "ตั้งค่า" เพื่อบันทึก
คำอธิบายช่องข้อมูล
ในบทนี้ จะกล่าวถึงช่องข้อมูลในแท็บ "เลขที่เอกสาร" และ "พื้นฐาน" เท่านั้น รายละเอียดของช่องข้อมูลในแท็บอื่นๆ จะอธิบายในหัวข้อย่อยภายใต้แต่ละโมดูลอีกครั้ง
แท็บ "เลขที่เอกสาร" | |
---|---|
วงรอบเอกสาร | วงรอบในการรีเซ็ตเลขลำดับของเอกสาร สามารถเลือกตั้งค่าเป็น
|
แยกเลขที่เอกสารของแต่ละแผนก | ให้แต่ละแผนกใช้เลขลำดับแยกชุดกัน |
รูปแบบเลขที่เอกสาร | ข้อมูลและลำดับของข้อมูลที่จะใช้สร้างเลขที่เอกสาร
*** ดูรายละเอียดการกำหนดค่าในหัวข้อรูปแบบเลขที่เอกสารด้านล่าง |
"แท็บ "พื้นฐาน" | |
---|---|
โมดูลสำหรับตารางรหัสอ้างอิง | |
ตารางรหัสแผนก | โมดูลเจ้าของตารางรหัส "แผนก" |
ตั้งเวลาการทำงานอัตโนมัติ | |
คำนวณข้อมูลใหม่ | เลือกเวลาและวันในสัปดาห์ที่ต้องการคำนวณข้อมูลใหม่โดยอัตโนมัติ |
สำรองข้อมูล | เลือกเวลาและวันในสัปดาห์ที่ต้องการสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติ |
สีพื้นหลังแถบชื่อบริษัทและแถบเมนู | |
สีแถบชื่อบริษัท | เลือกสีแถบบริษัท/วันที่ หรือทำเครื่องหมายในช่อง "ใช้สีตามธีม" เพื่อใช้สีจากธีมปกติของโปรแกรม |
สีแถบเมนู | เลือกสีแถบเมนู หรือทำเครื่องหมายในช่อง "ใช้สีตามธีม" เพื่อใช้สีจากธีมปกติของโปรแกรม |
รูปแบบเลขที่เอกสาร
การตั้งค่ารูปแบบเลขที่เอกสาร มีหลักการคือ ข้อความที่ตายตัวให้ระบุได้โดยตรง ส่วนข้อความที่เปลี่ยนไปตามข้อมูลในเอกสารให้ระบุชนิดข้อมูลไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม (วงเล็บก้ามปู: [ ]) เช่น หากต้องการเลขที่เอกสารตามตัวอย่าง
ให้ตั้งค่ารูปแบบเอกสารดังนี้
[SER]-[SEC]-[Y4][M][D]/[X5]
ข้อมูลของเอกสารที่สามารถเข้ารหัสอยู่ในเลขที่เอกสารได้มีดังต่อไปนี้
รหัสรูปแบบ | คำอธิบาย |
---|---|
[SER] | ซีรีส์ของเอกสาร
*** ดู/แก้ไขซีรีส์เอกสารที่สามารถใช้ฟังก์ชันเลขที่อัตโนมัติได้ที่เมนูย่อย "เลขที่เอกสาร" |
[SEC] | ตัวย่อของแผนก
*** ดูและแก้ไขข้อมูลของแต่ละแผนกได้ที่ตารางรหัส "แผนก" *** "ตัวย่อ" ของแผนกอาจเหมือนหรือไม่เหมือนกับ "รหัส" แผนก ก็ได้ |
[Y4] | ปี ค.ศ. (4 หลัก) เช่น 2021 |
[Y2] | ปี ค.ศ. (2 หลัก) เช่น 21 |
[YB4] | ปี พ.ศ. (4 หลัก) เช่น 2564 |
[YB2] | ปี พ.ศ. (2 หลัก) เช่น 64 |
[M] | เดือน (2 หลัก) คือ 01 แทนเดือนมกราคม ถึง 12 แทนเดือนธันวาคม |
[D] | วันที่ (2 หลัก) คือ 01 ถึง 28, 29, 30, หรือ 31 |
[XN] | เลขลำดับเอกสาร (N หลัก: N เป็นจำนวนเต็ม) เช่น [X5] คือ 00001, 00002, 00003, … |
*** การเปลี่ยนค่าเกี่ยวกับเลขที่เอกสารระหว่างวงรอบอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่ไม่คาดคิดได้ โปรดไปที่เมนูย่อย "เลขที่เอกสารอัตโนมัติ" เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง
การใช้งานฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติ
ช่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเลขที่เอกสาร, เลขที่ใบกำกับฯ, เลขที่เอกสารอ้างอิงต่างๆ ในระบบคูนิฟ็อกซ์มีหลายช่องที่สามารถใช้ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติได้ ทั้งนี้ โปรดศึกษาฟังก์ชันที่รองรับจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องในคู่มือ
ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติมี 2 รูปแบบ ได้แก่:
- เลขที่เอกสารใหม่อัตโนมัติ (**NEW**): ระบบจะอ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลเลขที่เอกสาร (เมนูย่อย "จัดการซีรีส์เอกสาร") แล้วสร้างเลขที่เอกสารจากเลขลำดับถัดไปให้โดยอัตโนมัติ ช่องข้อมูลที่รองรับฟังก์ชันนี้ มักจะมีค่าตั้งต้นเป็น XXX**NEW** (XXX เป็นซีรีส์เอกสาร: หมายเลข 1) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ดังนี้:
- ทิ้งค่าไว้ตามเดิม หรือ เปลี่ยนเฉพาะซีรีส์เอกสาร XXX เป็นซีรีส์ที่ต้องการ: หากเป็นซีรีส์ที่สามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้ ระบบจะสร้างเลขที่เอกสารให้โดยอัตโนมัติ
- ระบุเลขที่เอกสารด้วยตนเอง
- รอเลขที่เอกสารอัตโนมัติจากช่องอื่น (??WAIT??): ระบบจะรอข้อมูลเลขที่เอกสารจากช่องที่กำหนดไว้ แล้วใช้เลขเดียวกัน (เช่น เลขที่ใบกำกับภาษีขาย ที่ต้องการใช้เลขเดียวกันกับเลขที่ใบส่งสินค้า เป็นต้น) ช่องข้อมูลที่รองรับฟังก์ชันนี้ มักมีค่าตั้งต้นเป็น ??WAIT?? (ช่องข้อมูลเหล่านี้หลายช่องรองรับฟังก์ชัน **NEW** ด้วยเช่นกัน: หมายเลข 2) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ดังนี้:
- ทิ้งค่าไว้ตามเดิม: ระบบจะดึงค่าที่สำเร็จแล้วจากช่องข้อมูลอื่นมากรอกให้โดยอัตโนมัติ
- ถ้าช่องข้อมูลนี้รองรับฟังก์ชัน **NEW** ผู้ใช้สามารถกรอก XXX**NEW** (XXX เป็นซีรีส์เอกสารที่ต้องการ) ได้
- ระบุเลขที่เอกสารด้วยตนเอง
กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี
เนื่องจากธุรกรรมบางชนิดต้องมีการบันทึกสมุดรายวันกำกับด้วย ผู้ใช้สามารถกำหนดวิธีการบันทึกสมุดรายวันสำหรับธุรกรรมชนิดต่างๆ ได้ที่เมนูย่อยนี้
- เมื่อเลือกเมนูย่อย "กำหนดรูปแบบการบันทึกบัญชี" ระบบจะแสดงรายชื่อโมดูลที่เปิดใช้งานอยู่
- เลือกโมดูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องการดู/แก้ไข (ในตัวอย่างนี้เลือก "สินคาคงคลัง")
- เลือกหัวข้อกิจกรรมที่ต้องการดู/แก้ไข (ในตัวอย่างนี้เลือก "ใบซื้อ/รับสินค้า")
- ดู/เพิ่ม/แก้ไขค่าตามต้องการ (ดูหัวข้อตารางในระบบคูนิฟ็อกซ์ประกอบ)
*** ผู้ใช้ควรจัดการตารางรหัส "ผังบัญชี" ให้เรียบร้อยก่อนที่เริ่มตั้งค่าในส่วนนี้
คำอธิบายช่องข้อมูล
รหัสรูปแบบ | คำอธิบาย |
---|---|
สมุด | รหัสสมุดรายวันที่ใช้บันทึก |
ค่าจากเอกสาร | ข้อมูลในใบสำคัญที่จะนำตัวเลขมาใช้ลงบัญชี |
Dr./Cr. | บันทึกเป็นรายการเดบิตหรือเครดิต
*** กรณีค่าที่จะบันทึกติดลบ ระบบจะสลับข้างบันทึกบัญชีโดยอัตโนมัติ |
คำอธิบายรายการ | คำอธิบายของรายการทางบัญชี |
ใช้ตารางรหัส | หารหัสบัญชีที่ผูกไว้ในตารางรหัสที่เกี่ยวข้องก่อน หากไม่มีข้อมูลที่ผูกกันไว้หรือหาผังบัญชีดังกล่าวไม่พบ จึงใช้ผังบัญชีตามตารางนี้
*** เช่น รายการ "เจ้าหนี้" จะหาผังบัญชีในช่องข้อมูล "รหัสบัญชี" (ผังบัญชีเจ้าหนี้รายตัว) ของผู้ขายรายนี้ก่อน หากไม่ได้ระบุไว้หรือระบุไว้แต่ผังบัญชีนั้นได้ถูกลบไปแล้ว โปรแกรมถึงจะเลือกใช้ผังบัญชีตามที่ระบุในตารางนี้ |
รหัส/ชื่อบัญชี | รหัสบัญชีแยกประเภทที่ใช้บันทึกบัญชี |
*** รายละเอียดของการบันทึกบัญชีในแต่ละหัวเรื่อง จะยกไปกล่าวในบทของโมดูลที่เกี่ยวข้อง
จัดการรูปแบบการพิมพ์
รูปแบบการพิมพ์ หมายถึง ไฟล์ต้นแบบ (template) สำหรับการพิมพ์เอกสารและรายงานต่างๆ รวมไปถึงไฟล์ประกอบต่างๆ เช่น ภาพที่ใช้ในการพิมพ์เอกสาร และไฟล์พื้นหลังต่างๆ
ตำแหน่งเก็บไฟล์
ในระบบคูนิฟ็อกซ์ ไฟล์เหล่านี้จะแบ่งเก็บเอาไว้ 2 ตำแหน่ง ได้แก่
- ไฟล์ตั้งต้นของระบบ: เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลส่วนกลางของโปรแกรม
- ไฟล์เฉพาะของแต่ละบริษัท: เก็บอยู่ในแฟ้มย่อยภายใต้ตำแหน่งเก็บข้อมูลของบริษัทนั้นๆ เมื่อแต่ละบริษัทเริ่มใช้งานครั้งแรก จะยังไม่มีไฟล์ใดอยู่ในแฟ้มนี้เลย
เมื่อผู้ใช้สั่งพิมพ์เอกสารหรือรายงาน โปรแกรมจะค้นหาไฟล์รูปแบบการพิมพ์จากแฟ้มเฉพาะของบริษัทที่กำลังใช้งานอยู่ก่อน ถ้าไม่พบไฟล์โปรแกรมจึงจะใช้ไฟล์ตั้งต้นของระบบ ดังนั้น หากผู้ใช้ต้องการใช้รูปแบบการพิมพ์ของตัวเอง ก็สามารถทำได้โดยอัพโหลดไฟล์ที่ต้องการเอาไว้ที่แฟ้มเฉพาะของบริษัทได้ พร้อมตั้งชื่อไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนด
ชนิดของไฟล์แบ่งตามหน้าที่ของไฟล์
ไฟล์ในกลุ่มรูปแบบการพิมพ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
ไฟล์ต้นแบบ (template) มีหน้าที่กำหนดรูปแบบของเอกสาร รวมไปถึงตำแหน่งของข้อมูลต่างๆ บนหน้ากระดาษ, ช่องที่มาของข้อมูลที่แสดง, คำสั่งประมวลผลข้อมูลขณะพิมพ์
ไฟล์กลุ่มนี้เป็นไฟล์เวกเตอร์กราฟิกสกุล SVG (สร้างโดยซอฟต์แวร์เวกเตอร์กราฟิกต่างๆ เช่น Inkscape, Adobe Illustrator เป็นต้น)
ไฟล์ภาพ ซึ่งสามารถสั่งให้ปรากฏในเอกสารที่พิมพ์ออกมาได้ ไฟล์ภาพอาจเป็นชนิด JPG, GIF, หรือ PNG ก็ได้
เพื่อที่จะใช้รูปแบบการพิมพ์ตั้งต้นของระบบได้เต็มที่ ผู้ใช้ของแต่ละบริษัทควรเพิ่มไฟล์ภาพ 3 ไฟล์ต่อไปนี้ไว้ในแฟ้มเฉพาะของบริษัท
- LOGO.png: สัญลักษณ์หรือโลโก้ของบริษัท (ภาพนี้จะปรากฏที่หัวเอกสารทั้งหมด: ถ้าหาไฟล์ไม่พบ ระบบจะใช้ภาพตั้งต้นแทน)
- SIGN.png: ลายมือชื่อผู้มีอำนาจ (ภาพนี้จะปรากฏท้ายเอกสารต่างๆ: ถ้าหาไฟล์ไม่พบ ระบบจะไม่แสดงภาพ)
- STAMP.png: ตราประทับของบริษัท (ภาพนี้จะปรากฏท้ายเอกสารทางภาษีต่างๆ: ถ้าหาไฟล์ไม่พบ ระบบจะไม่แสดงภาพ)
- ไฟล์พื้นหลัง เป็นไฟล์ชนิด PDF ซึ่งสามารถสั่งให้ซ้อนเป็นพื้นหลังของเอกสารที่พิมพ์ออกมาได้ เช่น แบบฟอร์มเปล่าต่างๆ
การตั้งชื่อไฟล์ต้นแบบ
ในกรณีพื้นฐานที่สุด ไฟล์ต้นแบบจะใช้ชื่อ XXX.svg สำหรับเอกสารทั่วไป หรือ GL_XXX.svg สำหรับบันทึกสมุดรายวัน (XXX เป็นซีรีส์เอกสารหรือรหัสรายงาน) ที่ใช้ไฟล์ต้นแบบนี้ ในกรณีที่ซับซ้อนขึ้น ให้ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้
- หากเอกสารใดต้องใช้ต้นแบบการพิมพ์มากกว่า 1 แบบ เช่น เอกสารส่งสินค้า ต้องพิมพ์เป็นใบกำกับภาษี, สำเนาใบกำกับภาษี, ใบส่งของ, ใบเสร็จ, สำเนาใบเสร็จ รวม 5 เอกสาร เป็นต้น ให้ตั้งชื่อไฟล์ต้นแบบ เป็น XXX_1.svg, XXX_2.svg, XXX_3.svg, …, XXX_9.svg
- หากต้องการเอกสารที่มีหน้าแรกแตกต่างไปจากหน้าอื่นๆ เช่น หน้าแรกมีจำนวนรายการไม่เท่ากับหน้าอื่นๆ หรือ หน้าแรกมีข้อความที่แตกต่างจากหน้าอื่นๆ เป็นต้น ให้ตั้งชื่อไฟล์ต้นแบบสำหรับหน้าแรกเป็น XXX_P.svg หรือ XXX_N_P.svg (N เป็นเลข 1–9) แล้วแต่กรณี
การใช้งาน
- เมื่อผู้ใช้เลือกเมนูย่อย "จัดการรูปแบบการพิมพ์" แล้ว โปรแกรมจะแสดงตารางขึ้นมา 2 ตาราง
- ตารางซ้ายแสดงรูปแบบการพิมพ์ตั้งต้นของระบบ ผู้ใช้จะไม่สามารถเพิ่ม/แก้ไข/ลบไฟล์ได้แต่สามารถดาวน์โหลดไฟล์เพื่อใช้เป็นตัวอย่างได้
- ตารางขวาแสดงรูปแบบการพิมพ์ในแฟ้มเฉพาะของบริษัทเอง
- การจัดการไฟล์ต่างๆ มีขั้นตอนตามแสดงในหัวข้อย่อยต่อไปนี้
การดาวน์โหลดไฟล์ที่มีอยู่แล้ว
- เลือกไฟล์ที่ต้องการดาวน์โหลด (ในที่นี้เลือก BMB.svg จากตารางไฟล์ตั้งต้น)
- กดปุ่ม หรือ ในตารางไฟล์ฝั่งที่เลือก เพื่อเปิดหน้าต่างรายละเอียดไฟล์ หากไฟล์ที่เลือกเป็นไฟล์ภาพ หรือ ไฟล์ต้นแบบ จะเห็นตัวอย่างไฟล์ในหน้าต่างนี้ด้วย
- กดปุ่ม ข้างช่องข้อมูลไฟล์ หรือคลิกที่ภาพตัวอย่างไฟล์ ระบบจะเปิดไฟล์จริงในแท็บใหม่ผู้ใช้สามารถบันทึกไฟล์ได้โดยใช้เมนูของบราวเซอร์ File → Save Page As… หรือกด Ctrl+S
การอัพโหลดไฟล์
- กดปุ่ม ในตารางไฟล์เฉพาะของบริษัท ระบบจะเปิดหน้าต่างรายละเอียดไฟล์
- เลือกไฟล์ที่ต้องการอัพโหลด แล้วตั้งชื่อไฟล์ในช่อง "ชื่อสำหรับอัพโหลด" จากนั้นกด "ตกลง" เพื่อยืนยันการอัพโหลด
การเปลี่ยนชื่อไฟล์
- เลือกไฟล์ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อในตารางไฟล์ต้นแบบของบริษัท แล้วกดปุ่ม ระบบจะแสดงหน้าต่างรายละเอียดไฟล์
- แก้ไขชื่อไฟล์ แล้วกด "ตกลง" เพื่อยืนยันการแก้ไข
การลบไฟล์
- เลือกไฟล์ที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม ระบบจะแสดงหน้ายืนยันการลบไฟล์
- กด "ตกลง" เพื่อยืนยันการลบไฟล์ หรือ "ยกเลิก" เพื่อยกเลิกการลบไฟล์
จัดการรูปแบบรหัส QR
ระบบคูนิฟ็อกซ์มีฟังก์ชันสำหรับสร้าง QR code จ่าย/รับชำระชนิดระบุจำนวนเงินเอาไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจ่าย/รับชำระเงินโอน
*** การใช้งานเมนูย่อยนี้เหมือนกับเมนูย่อย "จัดการรูปแบบการพิมพ์"
*** ระบบ QR code ของคูนิฟ็อกซ์อ้างอิงระบบ PromptPay ซึ่งใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขประจำตัวประชาชนระบุตัวตน ดังนั้น ระบบจะสร้างไฟล์ QR code ได้ก็ต่อเมื่อ
- บริษัทที่ลงชื่อเข้าใช้มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (สำหรับ QR code รับชำระ: ดูเมนูย่อย ระบบ → จัดการบริษัท) หรือ
- เจ้าหนี้/ลูกหนี้ผู้รับโอนมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (สำหรับ QR code จ่ายชำระ: ดูตารางรหัสผู้ขาย/เจ้าหนี้ หรือ ลูกค้า/ลูกหนี้ ภายใต้โมดูล "เจ้าหนี้/ลูกหนี้")
ไฟล์ที่สำคัญในการสร้าง QR Code
- MoneyQR_master.svg: ไฟล์ต้นแบบสำหรับ QR Code รับชำระเงิน
- LOGO.png: ภาพสัญลักษณ์หรือโลโก้ของบริษัท