โมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน
โมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน (CuneiFox Default WG) ใช้สำหรับคำนวณค่าแรงที่จะจ่ายให้กับพนักงานในแต่ละงวด โมดูลค่าแรงนี้มาพร้อมกับฟังก์ชันการคำนวณเงินสมทบต่างๆ, คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, และระบบการหัก ณ ที่จ่ายค่าแรง
ในหัวข้อนี้ จะแนะนำองค์ประกอบอื่นๆ ของโมดูลก่อน จากนั้นจึงจะกล่าวถึงเมนูย่อยต่างๆ ในเมนูเฉพาะของโมดูล
ตารางรหัส
หมวดพนักงาน
ตารางรหัสหมวดพนักงาน (EMPGRP) บันทึกข้อมูลหมวดทางบัญชีของพนักงาน เช่น ข้อมูลการหัก ณ ที่จ่าย, การหักเงินสมทบต่างๆ, และรหัสบัญชีที่ใช้บันทึกกิจกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าแรง
คำอธิบายช่องข้อมูล
StID | static ID ของกลุ่มพนักงาน |
รหัสหมวด | รหัสหมวดพนักงาน |
ชื่อหมวดพนักงาน | ชื่อหมวดพนักงาน |
รหัสบัญชี | |
ค่าจ้าง | ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่าจ้าง (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
เบี้ยขยัน | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเบี้ยขยัน (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
เงินตำแหน่ง | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินตำแหน่ง (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
ค่าครองชีพ | ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่าครองชีพ (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
เบี้ยเลี้ยง | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเบี้ยเลี้ยง (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
ค่านายหน้า | ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่านายหน้า (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
ค่าล่วงเวลา | ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่าล่วงเวลา (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
สวัสดิการ | ผังบัญชีสำหรับบันทึกสวัสดิการ (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
รางวัล/โบนัส | ผังบัญชีสำหรับบันทึกรางวัล/โบนัส (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
เงินหัก | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินหัก (Cr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
ประกันสังคม | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบประกันสังคม (ฝั่งลูกจ้าง: Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
กองทุนสำรองฯ | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบกองทุนรวมฯ (ฝั่งลูกจ้าง: Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย) |
รหัสบัญชี (กองทุนต่างๆ: ฝั่งนายจ้าง) | |
ประกันสังคม | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบประกันสังคม (ฝั่งนายจ้าง: Cr. หมวด 2: หนี้สิน) |
กองทุนสำรองฯ | ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบกองทุนรวมฯ (ฝั่งนายจ้าง: Cr. หมวด 2: หนี้สิน) |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ค่าจ้างและผลประโยชน์อื่น) | |
คำอธิบาย | รหัสและคำอธิบายประเภทรายได้ของเงินได้พนักงาน (ไม่รวมค่านายหน้า) |
ใช้อัตราก้าวหน้า | ใช้อัตราก้าวหน้าเพื่อคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย |
อัตรา | อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายตายตัว (กรณีไม่ใช้อัตราก้าวหน้า) |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ค่านายหน้า) | |
คำอธิบาย | รหัสและคำอธิบายประเภทรายได้ของเงินได้สำหรับค่านายหน้า |
คำนวณร่วมกับภาษีเงินได้อื่นๆ | คำนวณหัก ณ ที่จ่ายของค่านายหน้ารวมกับรายได้อื่น |
อัตรา | อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายค่านายหน้า (ใช้ในกรณีไม่คำนวณร่วมกับรายได้อื่น) |
อัตราเงินสมทบต่างๆ | |
ประกันสังคม | ร้อยละของค่าจ้างที่หักจากเงินที่จ่ายพนักงานเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม |
สูงสุด (ประกันสังคม) | เงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดต่องวด
*** ใส่ 0.00 กรณีไม่มีกำหนดค่าสูงสุด |
กองทุนสำรองฯ | ร้อยละของค่าจ้างที่หักจากเงินที่จ่ายพนักงานเพื่อสมทบกองทุนสำรองฯ |
สูงสุด (กองทุนสำรองฯ) | เงินสมทบกองทุนสำรองฯ สูงสุดต่องวด
*** ใส่ 0.00 กรณีไม่มีกำหนดค่าสูงสุด |
พนักงาน
ตารางรหัสพนักงาน (EMPLOYEE) ใช้บันทึกข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน, ข้อมูลการว่าจ้าง, รวมไปถึงข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำอธิบายช่องข้อมูล
StID | static ID ของพนักงาน |
รหัสพนักงาน | รหัสพนักงาน |
ชื่อพนักงาน | ชื่อ-สกุลพนักงาน |
ที่อยู่ | ที่อยู่พนักงาน |
รหัสไปรษณีย์ | รหัสไปรษณีย์ของพนักงาน |
วันเกิด | วันเกิดของพนักงาน |
โทรศัพท์ | โทรศัพท์ติดต่อพนักงาน |
โทรสาร | โทรสารติดต่อพนักงาน |
อีเมล | อีเมลติดต่อพนักงาน |
รูป | รูปพนักงาน |
แท็บ "การว่าจ้าง" | |
---|---|
ตำแหน่งและสถานะการว่าจ้าง | |
ชนิดการว่าจ้าง | เลือกจาก 2 ตัวเลือก
|
หมวดพนักงาน | หมวดพนักงานที่มีพนักงาน |
แผนก | แผนกที่จ้างงาน หรือทำงาน |
ตำแหน่ง | ชื่อหรือคำอธิบายตำแหน่งพนักงาน |
วันที่เริ่มต้น | วันที่เริ่มต้นการว่าจ้าง |
สถานะ | เลือกจาก 2 ตัวเลือก
|
วันที่สิ้นสุด | วันที่สิ้นสุดการว่าจ้าง
*** ช่องนี้ปรากฏเมื่อ "สถานะ" เป็น "สิ้นสุดการว่าจ้าง" เท่านั้น |
เงินได้/ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายสะสมคำนวณเอง (เฉพาะในปี)
*** กรณีพนักงานเปลี่ยนมาทำงานที่บริษัทระหว่างปี ให้กรอกข้อมูลเงินได้สะสมในปีไว้ในส่วนนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้โปรแกรมใช้คำนวณภาษีเงินได้ | |
เงินได้ (ก่อนหักภาษี) | เงินได้สะสมก่อนหักภาษีตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง" |
ภาษี | ภาษี หัก ณ ที่จ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง" |
ประกันสังคม | เงินสมทบกองทุนประกันสังคมสะสม (ฝั่งลูกจ้าง) ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง" |
กองทุนสำรองฯ | เงินสมทบกองทุนสำรองฯ (ฝั่งลูกจ้าง) ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง" |
จนถึง (ไม่รวม) | เดือนที่ต้องการให้โปรแกรมเริ่มเก็บข้อมูลเงินได้และภาษีของพนักงาน
*** โปรแกรมจะถือเอาค่าสะสมที่กรอกในส่วนนี้ว่าเป็นค่าสะสมยกมาจากเดือนก่อน แล้วจะเริ่มเก็บข้อมูลเงินได้และภาษีของพนักงานจากเอกสารในเมนูย่อย "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน" ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป |
ค่าจ้างและผลประโยชน์ | |
ชั่วโมงทำงาน | ชั่วโมงทำงานปกติของพนักงาน (หน่วย ชั่วโมงต่อวัน) |
วันที่ทำงาน | วันในสัปดาห์ที่พนักงานต้องมาทำงาน
*** กรณีวันทำงานไม่แน่นอน สามารถเลือกเพื่อให้มีจำนวนวันทำงานในสัปดาห์เท่ากับความเป็นจริงก็ได้ แต่อาจทำให้ค่าตั้งต้นของ "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน" คลาดเคลื่อนไปบ้าง (กรณีเลือกจ่ายค่าจ้าง "ลูกจ้างรายชั่วโมง" หรือ "ลูกจ้างรายวัน" เป็นราย "เดือน") |
ระยะการจ่ายค่าจ้าง | เงื่อนไขค่าจ้างที่จะกำหนดในส่วนนี้ เลือกจาก
|
เงื่อนไขการหักภาษี | เลือกจาก 3 ตัวเลือก
|
ค่าจ้าง | ค่าจ้างรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน
*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง" |
เบี้ยขยัน | เบี้ยขยันรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน
*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง" |
เงินตำแหน่ง | เงินตำแหน่งรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน
*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง" |
ค่าครองชีพ | ค่าครองชีพรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน
*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง" |
แท็บ "การจ่ายค่าจ้างและการลดหย่อน #1" | |
บัญชีและเลขประจำตัว | |
เลขที่ผู้เสียภาษี | เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของพนักงาน |
เลขประกันสังคม | เลขกองทุนประกันสังคมของพนักงาน |
เลขกองทุนสำรองฯ | เลขกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงาน |
ธนาคาร | รหัสและชื่อธนาคารเจ้าของบัญชีรับเงินเดือนของพนักงาน |
เลขที่บัญชีธนาคาร | เลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินเดือนของพนักงาน |
ชื่อบัญชีธนาคาร (อังกฤษ) | ชื่อบัญชีรับเงินเดือนของพนักงาน (ภาษาอังกฤษ)
*** โปรแกรมจะไม่ตรวจสอบค่าในช่องนี้ แต่ข้อจำกัดของข้อมูลในช่องนี้แตกต่างกับไปตามระบบของแต่ละธนาคาร โปรดตรวจสอบข้อจำกัดในระบบธนาคารที่บริษัทใช้งาน |
คู่สมรส | |
สถานะสมรส | เลือกจาก 4 ตัวเลือก
|
ลดหย่อนได้ | ลดหย่อนภาษีเงินได้กรณีคู่สมรสไม่มีเงินหรือไม่
*** ช่องนี้ปรากฏเมื่อ "สถานะสมรส" เป็น "สมรส" เท่านั้น |
ชื่อ | ชื่อ-สกุลของคู่สมรส |
เลขประจำตัวประชาชน | เลขประจำตัวประชาชนของคู่สมรส |
วันเกิด | วันเกิดของคู่สมรส |
เลขประจำตัวประชาชนบุตร | |
ลดหย่อนปกติ | ใส่เลขประจำตัวประชาชนของบุตรที่ลดหย่อนภาษีในอัตราปกติ โดยคั่นแต่ละรายด้วยเครื่องหมาย ";" |
ลดหย่อนพิเศษ | ใส่เลขประจำตัวประชาชนของบุตรที่ลดหย่อนภาษีได้ในอัตราพิเศษ โดยคั่นแต่ละรายด้วยเครื่องหมาย ";"
*** ในวันที่เขียนคู่มือนี้ (19 พฤษภาคม ค.ศ. 2023) บุตรที่ลดหย่อนภาษีได้ในอัตราพิเศษหมายถึง บุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี ค.ศ. 2019 |
แท็บ "การลดหย่อน #2" | |
บุคคลในอุปการะ | |
บิดา | เลขประจำตัวประชาชนของบิดา |
เบี้ยประกัน (บิดา) | เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของบิดา |
ลดหย่อนได้ (บิดา) | สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะบิดาได้ |
มารดา | เลขประจำตัวประชาชนของมารดา |
เบี้ยประกัน (มารดา) | เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของมารดา |
ลดหย่อนได้ (มารดา) | สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะมารดาได้ |
บิดาคู่สมรส | เลขประจำตัวประชาชนของบิดาคู่สมรส |
เบี้ยประกัน (บิดาคู่สมรส) | เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของบิดาคู่สมรส |
ลดหย่อนได้ (บิดาคู่สมรส) | สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะบิดาคู่สมรสได้ |
มารดาคู่สมรส | เลขประจำตัวประชาชนของมารดาคู่สมรส |
เบี้ยประกัน (มารดาคู่สมรส) | เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของมารดาคู่สมรส |
ลดหย่อนได้ (มารดาคู่สมรส) | สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะมารดาคู่สมรสได้ |
คนทุพพลภาพ | ยอดเงินที่ลดหย่อนได้กรณีอุปการะบุคคลทุพพลภาพ |
เงินบริจาค | |
ลดหย่อนได้ 2 เท่า | ยอดเงินบริจาคที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า (ยังไม่ต้องคูณ 2) |
ลดหย่อนได้ | ยอดเงินบริจาคที่ลดหย่อนได้ส่วนที่เหลือ |
เบี้ยประกัน | |
ชีวิต | เบี้ยประกันชีวิตที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ |
สุขภาพ | เบี้ยประกันสุขภาพที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ |
บำนาญ | เบี้ยประกันแบบบำนาญที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ |
การลดหย่อนอื่นๆ | |
ดอกเบี้ยเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย | ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย |
แท็บ "การลดหย่อนเพิ่มเติม #1 และ #2" | |
เพิ่มเติม #1 – #24 | ยอดลดหย่อนในรายการเพิ่มเติมซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละปี
*** คำอธิบายของช่องข้อมูลเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ที่การตั้งค่าโมดูล |
เลขที่เอกสารอัตโนมัติ
ซีรีส์เอกสารตั้งต้น
กลุ่มเอกสาร | ซีรีส์ | คำอธิบาย |
---|---|---|
ใบสำคัญจ่ายค่าจ้าง | PRL | ค่าจ้าง |
การตั้งค่าโมดูล
คำอธิบายช่องข้อมูล
ผังบัญชีตั้งต้น | |
---|---|
ค่าจ้าง | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
เบี้ยขยัน | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
เงินตำแหน่ง | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
ค่าครองชีพ | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
เบี้ยเลี้ยง | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
ค่านายหน้า | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
ค่าล่วงเวลา | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
สวัสดิการ | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
รางวัล/โบนัส | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
เงินหัก | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
ประกันสังคม | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
กองทุนประกันสังคม (นายจ้าง) | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
กองทุนสำรองฯ (นายจ้าง) | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
การจ่ายค่าจ้าง | ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่ม ใบสำคัญการจ่ายค่าจ้าง |
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
*** ระบุอัตราเพื่อใช้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | |
การตั้งค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งต้น | |
ค่าจ้าง & เงินเพิ่มต่างๆ | คำอธิบายภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างและเงินเพิ่มต่างๆ
ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
อัตรา (ค่าจ้าง) | อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างและเงินเพิ่มต่างๆ
ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
ค่านายหน้า | คำอธิบายภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่านายหน้า
ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
อัตรา (ค่านายหน้า) | อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่านายหน้า
ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
แบบภาษี | แบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ใช้รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างและค่านายหน้า |
การตั้งค่าอื่นๆ | |
อัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตั้งต้น | อัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
อัตราเงินสมทบกองทุนสำรองฯ ตั้งต้น | อัตราเงินสมทบกองทุนสำรองฯ ตั้งต้น
ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มกลุ่มพนักงานใหม่ |
คำอธิบายรายการลดหย่อน | |
เพิ่มเติม #1 – #24 | คำอธิบายรายการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม
*** คำอธิบายรายการเหล่านี้จะแสดงในช่องข้อมูลลดหย่อนในตารางรหัส "พนักงาน" |
การตั้งค่าการบันทึกสมุดรายวัน
สมุดบัญชีของโมดูล
สมุดบัญชีที่โมดูลนี้จะสร้างขึ้นเมื่อเปิดใช้งานมีตามตารางต่อไปนี้
ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง |
---|---|---|---|
ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง |
ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง |
ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง |
การลงบัญชีรายวัน
โมดูลค่าจ้างมีฟังก์ชันบันทึกบัญชีอัตโนมัติสำหรับ 1 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมีการตั้งค่าเริ่มต้นดังต่อไปนี้
ใบสำคัญจ่ายค่าจ้าง
ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง |
---|---|---|---|---|
ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง |
ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง |
ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง | ตัวอย่าง |
แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้
คำอธิบายช่องข้อมูล
ตารางรหัส | |
---|---|
พนักงาน | มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5 |
กลุ่มพนักงาน | มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5 |
เอกสาร | |
ใบสำคัญจ่ายค่าจ้าง | มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4 |
อื่นๆ | |
เรียกรายงาน | มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4 |
แก้ไขรายงาน | มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4 |
เลขที่เอกสาร | มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4 |
*** สามารถดูความหมายของค่าสิทธิ์ได้ที่หัวข้อ เมนู "ระบบ" → "แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้"
เมนูย่อย "ใบสำคัญจ่ายค่าจ้าง"
เมนูย่อยนี้ใช้ในการบันทึกรายละเอียดการจ่ายค่าจ้างในแต่ละงวด เมื่อผู้ใช้สร้างเอกสารจ่ายค่าจ้างแล้ว ระบบจะดึงข้อมูลเอกสารไปบันทึกรายได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสม พร้อมลงบันทึกบัญชีรายวันให้โดยอัตโนมัติ *** ในเพจนี้ ระบบจะพยายามคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในงวดการจ่ายค่าจ้างให้ โดยอาศัยข้อมูลเงินได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมของพนักงานแต่ละคน ดังนั้น ผู้ใช้ควรสั่ง "คำนวณข้อมูลใหม่"อีกครั้งก่อนกรอกข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้คำนวณมีความถูกต้องแม่นยำ
คำอธิบายช่องข้อมูล
รายการหลัก (หัวเอกสาร) | |
---|---|
เลขที่เอกสาร | เลขที่เอกสาร
*** ใช้ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติได้ *** ซีรีส์เอกสารที่ใช้ได้คือกลุ่ม "ใบสำคัญจ่ายค่าจ้าง" ภายใต้โมดูล "ค่าจ้าง" |
วันที่เอกสาร | วันที่ของเอกสาร
*** ต้องอยู่ในเดือนเดียวกันกับวันที่ของ session |
แผนก | แผนก |
รอบ | กรอกจำนวนรอบการทำงานที่ต้องการจ่ายค่าตอบแทน โดยกรอกเป็นจำนวนเต็ม และเลือกหน่วยจากตัวเลือก
|
บัญชี | ผังบัญชีที่ลงบันทึกจ่ายค่าจ้าง (หมวดสินทรัพย์) |
คำอธิบาย | คำอธิบายรายการจ่ายค่าจ้างนี้ |
บันทึก | บันทึกรายละเอียดของรายการเพิ่มเติม |
คำนวณภาษีเงินได้เดือนสิ้นปี | คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายงวดสุดท้ายของปี
*** เมื่อเลือกใช้ฟีเจอร์นี้ ระบบจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้แก้ไขยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายในรายการย่อย *** ฟังก์ชันนี้เปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ของ session ตกอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น |
รายการย่อย (รายละเอียดรายการค่าจ้าง) | |
พนักงาน | รหัสและชื่อของพนักงานที่รับค่าจ้างในรายการนี้ |
ค่าจ้างพื้นฐาน | |
ค่าจ้าง | *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าที่กำหนดในตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างที่ระบุไว้ในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
เงินเพิ่ม | |
เบี้ยขยัน | *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าที่กำหนดในตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างที่ระบุไว้ในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
เงินตำแหน่ง | *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าที่กำหนดในตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างที่ระบุไว้ในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
ค่าครองชีพ | *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าที่กำหนดในตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างที่ระบุไว้ในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
เบี้ยเลี้ยง | *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
ค่าล่วงเวลา | *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
สวัสดิการ | *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
รางวัล/โบนัส | *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
ค่านายหน้า | |
ค่านายหน้า | *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
เงินหัก & เงินสมทบกองทุน | |
เงินหัก | ยอดที่หักจากยอดที่ต้องจ่าย เพราะพนักงานได้รับไปแล้วผ่านทางกิจกรรมทางการเงินอื่น เช่น เบิกเงินเดือนล่วงหน้า ฯลฯ
*** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
ประกันสังคม | เงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ส่วนลูกจ้าง)
*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้จากยอดในช่อง "ค่าจ้าง" และค่าที่กำหนดไว้ในตารางรหัส "กลุ่มพนักงาน" แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
กองทุนสำรองฯ | เงินสมทบกองทุนสำรองฯ (ส่วนลูกจ้าง)
*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้จากยอดในช่อง "ค่าจ้าง" และค่าที่กำหนดไว้ในตารางรหัส "กลุ่มพนักงาน" แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
เงินสมทบกองทุนต่างๆ (นายจ้าง) | |
ประกันสังคม | เงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ส่วนนายจ้าง)
*** ค่าตั้งต้นเท่ากับส่วนของลูกจ้าง แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
กองทุนสำรองฯ | เงินสมทบกองทุนสำรองฯ (ส่วนนายจ้าง)
*** ค่าตั้งต้นเท่ากับส่วนของลูกจ้าง แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย | |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (เงินได้) | ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนที่ไม่รวมค่านายหน้า
*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ (ยกเว้นผู้ใช้เลือกให้เอกสารนี้ "คำนวณภาษีเงินได้เดือนสิ้นปี") |
หัก ณ ที่จ่าย (นายหน้า) | ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนของค่านายหน้า
*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ (ยกเว้นผู้ใช้เลือกให้เอกสารนี้ "คำนวณภาษีเงินได้เดือนสิ้นปี") |
เงื่อนไข | เงื่อนไขการหัก ณ ที่จ่าย เลือกจาก 3 ตัวเลือก
*** ระบบจะเลือกค่าที่ตั้งค่าเอาไว้มาเป็นค่าตั้งต้น แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ |
*** ระบบจะเลือกค่าที่ตั้งค่าเอาไว้มาเป็นค่าตั้งต้น แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
ใส่หัวตาราง | ใส่หัวตาราง | ||
---|---|---|---|
ชั่วโมง | วัน | เดือน | |
N ชั่วโมง | N | N / hpd | N / hpd / FM |
N วัน | N × hpd | N | N / FM |
N เดือน | N × hpd × dpm | N × dpm | N |
- โดย
- hpd คือ จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน (อ่านค่าจากตารางรหัส "พนักงาน")
- dpm คือ จำนวนวันทำงานจริงในเดือน (อ่านค่าจากตารางรหัส "พนักงาน" แล้วเทียบวันในสัปดาห์กับปฏิทิน)
- FM คือ จำนวนวันในเดือนที่จ่ายค่าจ้าง
การนำเข้าข้อมูลการจ่ายค่าจ้างจากไฟล์กระดาษทำการ
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลการจ่ายค่าจ้างได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกรณีที่มีพนักงานจำนวนมาก โปรแกรมมีฟังก์ชันการนำเข้ารายการจ่ายค่าจ้างจากไฟล์กระดาษทำการสกุล XLSX (สร้างจากโปรแกรม Microsoft Excel 2007 ขึ้นไปหรือโปรแกรมกระดาษทำการอื่น) มีวิธีใช้งานดังนี้
- กดปุ่ม<img>เพื่อเพิ่มเอกสาร หรือ<img>เพื่อแก้ไขเอกสารตามปกติ
- กรอกข้อมูลหัวเอกสารให้ครบถ้วน จากนั้นบันทึกหัวเอกสาร (ด้วยการกดปุ่ม<img>)
- ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการกรอกรายการย่อย โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง "นำเข้าตารางข้อมูลค่าจ้าง" หากผู้ใช้ต้องการกรอกข้อมูลค่าจ้างทีละรายการ สามารถกดปุ่ม "ปิด" เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป(รายการย่อย) ได้ทันที
- หากผู้ใช้มีไฟล์กระดาษทำการที่มีโครงสร้างเหมาะสมเตรียมเอาไว้อยู่แล้ว สามารถข้ามไปขั้นตอนที่ 8 ได้ทันที หากผู้ใช้ยังไม่มีไฟล์เตรียมไว้ก่อน ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างโดยกดปุ่ม"ดาวน์โหลดไฟล์ต้นแบบ"
- เมื่อเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา จะพบไฟล์กระดาษทำการที่มีทั้งหมด 2 ชีท
- ชีท "_desc" ระบุความหมายของแต่ละคอลัมน์ พร้อมวิธีใช้
- ชีท "wage" ใช้สำหรับกรอกข้อมูล โดยโปรแกรมจะคำนวณค่าเริ่มต้นกรอกเอาไว้ให้ก่อนแล้ว
- กรอกข้อมูลตามที่ต้องการในชีท "wage"
- สำหรับคอลัมน์ "sso", "prov", "sso_comp", "prov_comp", "wage_wht", "cmms_wht" ผู้ใช้สามารถกรอกค่า -1 (ลบหนึ่ง) เพื่อบอกให้ระบบคำนวณค่าให้ใหม่โดยอัตโนมัติ
- สำหรับคอลัมน์ "taxcond" ผู้ใช้กรอกค่าตัวเลือกด้วยตัวเลข ดังนี้
- หัก ณ ที่จ่าย
- จ่ายให้ครั้งเดียว
- จ่ายให้ตลอดไป
- บันทึกไฟล์กระดาษทำการ แล้วกลับมาที่หน้าโปรแกรมคูนิฟ็อกซ์
- อัพโหลดไฟล์ที่บันทึกไว้ในช่อง "ไฟล์" แล้วกดปุ่ม "นำเข้า"
- ระบบจะอ่านไฟล์ และนำเข้าข้อมูล
- หากนำเข้าสำเร็จ โปรแกรมจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป (รายการย่อย)
- หากนำเข้าไม่สำเร็จ โปรแกรมจะแจ้งปัญหาที่พบให้ผู้ใช้ทราบผ่านไฟล์บันทึก (log) ให้ผู้ใช้เปิดดูรายละเอียดและแก้ไขไฟล์กระดาษทำการอีกครั้ง
การเก็บประวัติต่างๆ
โมดูลค่าจ้างมีการเก็บประวัติรายการต่างๆ ดังนี้
- ประวัติเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมของพนักงาน
- อัพเดตรายการยอดสะสมคำนวณเองจากข้อมูลในตารางรหัสพนักงานเมื่อผู้ใช้สั่ง "คำนวณข้อมูลใหม่" (เมนู ข้อมูล → คำนวณข้อมูลใหม่)
- อัพเดตรายการเงินได้และภาษีสะสมเมื่อมีการเพิ่ม/แก้ไข/ลบเอกสารและรายการค่าจ้างผ่านเมนู "ใบสำคัญจ่ายค่าจ้าง"
- ประวัติต่างๆ ที่เก็บในไฟล์นี้จะยกยอดต่อเนื่องภายในปีเท่านั้น แต่จะไม่ยกยอดจากเดือนธันวาคม ไปยังเดือนมกราคมของปีถัดไป
การประมาณเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อคำนวณภาษี
เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณจากยอดเงินได้ตลอดปี ดังนั้น ในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับงวดจ่ายค่าจ้างอื่นๆ ทั้งหมดที่ไม่ใช่งวดสุดท้ายของปี (ใบสำคัญจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายของปีคือ (1) มีรอบจ่ายเป็น "เดือน" และลงวันที่ในเดือนธันวาคม หรือ (2) ใบสำคัญจ่ายค่าจ้างที่ลงวันที่ 31 ธันวาคมของแต่ละปี) ระบบจำเป็นต้องประมาณการรายได้ทั้งปีของพนักงาน มีวิธีการประมาณการ และคำนวณภาษีดังนี้
ประมาณการเงินได้ทั้งปี
- รายได้สะสมก่อนเดือนที่สนใจ: อ่านจากไฟล์ประวัติโดยตรง
- รายได้ในเดือนที่สนใจ:
- กรณีใบสำคัญจ่ายค่าจ้างมีรอบเป็น "เดือน" จะยึดค่าในเอกสารนี้ทันที
- กรณีเอกสารมีรอบเป็นอย่างอื่น
- ยึดค่าตามประวัติสำหรับรายได้สะสมก่อนวันที่เอกสาร
- ใช้ค่าในเอกสารสำหรับรายได้ภายในวันที่เอกสาร
- ใช้ค่าในตารางรหัสเพื่อประมาณการรายได้ในจำนวนวันที่เหลือของเดือน
- รายได้ในเดือนถัดไปจนถึงสิ้นปี: ใช้ค่าในตารางรหัสเพื่อประมาณการรายได้
- รายได้ประมาณการของทั้งปี คือ ผลบวกของรายได้ใน 3 รายการข้างต้น
การคำนวณยอดภาษีในแต่ละเดือน (กรณีใช้อัตราก้าวหน้า)
- คำนวณยอดรายได้รวม
- หักรายการค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และรายการลดหย่อนภาษีต่างๆ
- คำนวณยอดภาษีพึงชำระทั้งปี
- คำนวณยอดภาษีที่ควรจะยื่นเรียบร้อยแล้วในงวดที่สนใจ เช่น ภาษีพึงชำระทั้งปี 12,000 บาท ภาษีที่ควรจะยื่นเรียบร้อยแล้วเมื่อสิ้นเดือนกันยายน คือ 9,000 บาท
- ภาษีที่จะยื่นในงวดนี้คือ ยอดตามข้อ 4 ลบกับยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมตามไฟล์ประวัติ เช่น สิ้นเดือนกันยายนควรยื่นภาษีแล้ว 9,000 บาท แต่นับถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ยื่นภาษีไปแล้ว 7,570 บาท ดังนั้นจะหัก ณ ที่จ่ายในงวดเดือนกันยายนเพื่อยื่นเป็นยอด 1,430 บาท