ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมดูลบัญชีแยกประเภท"

จาก คูนิฟ็อกซ์ วิกิ
บรรทัดที่ 293: บรรทัดที่ 293:
{| class="wikitable" style="width:100%;"
{| class="wikitable" style="width:100%;"
|-
|-
| colspan=2 style="background-color:#bee5eb; text-align:center;" | ''ผังบัญชีตั้งต้น''
| colspan=2 style="background-color:#bee5eb; text-align:center;" | ''โมดูลสำหรับตารางรหัสอ้างอิง''
|-
| ตารางรหัสเจ้าหนี้/ลูกหนี้ || เลือกโมดูลที่มีตารางรหัส '''ผู้ขาย/เจ้าหนี้ (SUPPLIER)''' และ '''ลูกค้า/ลูกหนี้ (CUSTOMER)''' เพื่อขยายการค้นหาข้อมูลผู้เสียภาษีไปยังตารางรหัสเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วย
|-
| colspan=2 style="background-color:#bee5eb; text-align:center;" | ''รหัสบัญชีตั้งต้น''
|-
|-
| ภาษีซื้อ || ผังบัญชีภาษีซื้อ (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
| ภาษีซื้อ || ผังบัญชีภาษีซื้อ (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
บรรทัดที่ 303: บรรทัดที่ 307:
| ภาษีหัก ณ ที่จ่าย || ผังบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
| ภาษีหัก ณ ที่จ่าย || ผังบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
|-
|-
| colspan=2 style="background-color:#bee5eb; text-align:center;" | ''ตั้งค่าอื่นๆ''
| colspan=2 style="background-color:#bee5eb; text-align:center;" | ''การตั้งค่ารอบปีบัญชี''
|-
| เดือนเริ่มต้น || เดือนเริ่มต้นของรอบบัญชี
|-
|-
| ผังบัญชีกำไร/ขาดทุนในรอบปี || ผังบัญชีกำไร/ขาดทุน (ใช้สร้างบันทึกรายวันปิดงบรายได้/ค่าใช้จ่าย)
| colspan=2 style="background-color:#bee5eb; text-align:center;" | ''อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล''
|-
|-
| อ่านข้อมูล เจ้าหนี้/ลูกหนี้ จากโมดูลอื่น || เลือกโมดูลที่มีตารางรหัส '''ผู้ขาย/เจ้าหนี้ (SUPPLIER)''' และ '''ลูกค้า/ลูกหนี้ (CUSTOMER)''' เพื่อขยายการค้นหาข้อมูลผู้เสียภาษีไปยังตารางรหัสเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วย
| colspan=2 | {{3stars}} ตั้งค่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:36, 16 พฤษภาคม 2566


โมดูลบัญชีแยกประเภท (CuneiFox Default GL) เป็นโมดูลสำหรับบันทึกบัญชีรายวันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกโดยผู้ใช้ (manual input) หรือการบันทึกบัญชีแบบอัตโนมัติ (automatic ledgering) จากโมดูลต่อยอดอื่นๆ

เมนูของโมดูล "บัญชีแยกประเภท"
เมนูของโมดูล "บัญชีแยกประเภท"

ในหัวข้อนี้ จะแนะนำองค์ประกอบอื่นๆ ของโมดูลก่อน จากนั้นจึงจะกล่าวถึงเมนูย่อยต่างๆ ในเมนูเฉพาะของโมดูล

ตารางรหัส

สมุดบัญชีรายวัน

ตารางรหัสสมุดรายวัน
ตารางรหัสสมุดรายวัน

สมุดบัญชีรายวัน (ACCBOOK) คือ สมุดบัญชีแบ่งตามหัวข้อกิจกรรมที่จะบันทึก เช่น สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่าย, รับ, ทั่วไป เป็นต้น

ระบบคูนิฟ็อกซ์จะแบ่งสมุดรายวันตามประเภทของกิจกรรม กล่าวคือการบันทึกบัญชีอัตโนมัติในแต่ละหัวเรื่องจะมีสมุดรายวันเป็นของตัวเอง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานและตรวจสอบ

*** สมุดรายวันแต่ละเล่มจะบันทึกภาษีมูลค่าเพิ่มได้เฉพาะภาษีซื้อหรือภาษีขายอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

คำอธิบายช่องข้อมูล

StID static ID ของสมุดรายวัน
โมดูล โมดูลที่มาของสมุดรายวัน

*** สมุดรายวันที่ผู้ใช้เพิ่มเองจะอยู่ภายใต้โมดูล "บัญชีแยกประเภท" เท่านั้น

รหัสสมุด รหัสของสมุดบัญชี

*** ความยาว 3 ตัวอักษร (ตัวอักษรและตัวเลข)

ชื่อสมุดบัญชี ชื่อหรือคำอธิบายของสมุดบัญชี
ภาษีซื้อ - ภาษีขาย - N/V ชนิดของภาษีมูลค่าเพิ่มที่บันทึกด้วยสมุดรายวันแต่ละเล่ม
  • ภาษีซื้อ: สมุดบัญชีรายวันเล่มนี้สามารถบันทึกใบกำกับภาษีซื้อ
  • ภาษีขาย: สมุดบัญชีรายวันเล่มนี้สามารถบันทึกใบกำกับภาษีขาย
  • N/V: สมุดบัญชีรายวันเล่มนี้ไม่ใช้บันทึกใบกำกับภาษีฯ
ใช้งาน ให้ผู้ใช้หรือระบบอัตโนมัติเข้าถึงสมุดรายวันนี้ได้
ผ่านบัญชี รายการในสมุดเล่มนี้มีผลกับยอดยกไปทางบัญชีหรือไม่

*** สมุดรายวันที่ไม่มีผลทางบัญชี เช่น บัญชีประมาณการ (BGT) เป็นต้น

รหัสบัญชี

ตารางรหัสบัญชี
ตารางรหัสบัญชี

รหัสบัญชี (ACCCODE) คือ รายการบัญชีแยกประเภทต่างๆ ตารางรหัสนี้เป็นตารางที่ผูกพันกับหลายฟังก์ชันในโปรแกรม ดังนั้น ผู้ใช้ควรจัดการตารางรหัสนี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะตั้งค่าหรือจัดการตารางรหัสอื่นๆ

คำอธิบายช่องข้อมูล

StID static ID ของบัญชี
รหัสบัญชี รหัสบัญชี
ชื่อบัญชี ชื่อหรือคำอธิบายบัญชี
หมวดบัญชี หมวดของรหัสบัญชี เลือกจาก 5 กลุ่ม ได้แก่
  1. สินทรัพย์
  2. หนี้สิน
  3. ส่วนของเจ้าของ
  4. รายได้
  5. ค่าใช้จ่าย

แผนก

ตารางรหัสแผนก
ตารางรหัสแผนก

ตารางรหัสแผนก (SECTION) สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น

  • แผนกต่างๆ ภายในบริษัทเดียวกัน เช่น แผนกจัดซื้อ, แผนกขาย, แผนกบริการหลังการขาย, ฯลฯ
  • สาขาสำหรับบริษัทที่มีหลายสาขา (เหมาะสำหรับสาขาที่มีการปฏิบัติงานอย่างง่ายๆ เท่านั้น)
  • บริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทเดียวกัน (เหมาะสำหรับบริษัทย่อยที่มีการปฏิบัติงานอย่างง่ายๆ เท่านั้น)

    *** ใน 2 กรณีหลัง หากสาขาหรือบริษัทย่อยมีระบบงานที่ซับซ้อน หรือต้องการทำบัญชีแยกขาดจากกัน ควรตั้งเป็นบริษัทลูกแยกกันจากบริษัทหลัก โดยใช้เมนูย่อย "การใช้งาน → ทะเบียนรหัสบริษัท/สาขา"

คำอธิบายช่องข้อมูล

StID static ID ของแผนก
รหัสแผนก รหัสแผนก
อักษรย่อ อักษรย่อแทนแผนก สำหรับใช้ในเลขที่เอกสาร
ชื่อแผนก ชื่อของแผนก
ที่อยู่ (เพื่อการกรอกแบบ) ที่อยู่ของสาขา (เฉพาะเลขที่)

*** สำหรับกรอกใบแนบแบบ ภ.พ. 30 กรณีใช้ "แผนก" แทนสาขาอย่างง่าย

รหัสไปรษณีย์ (เพื่อการกรอกแบบ) รหัสไปรษณีย์ของสาขา (เฉพาะเลขที่)

*** สำหรับกรอกใบแนบแบบ ภ.พ. 30 กรณีใช้ "แผนก" แทนสาขาอย่างง่าย

เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

ฐานข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (TAXIDEN) เก็บข้อมูลผู้เสียภาษีเพื่อใช้บันทึกใบกำกับภาษีซื้อ/ขาย และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ตารางรหัสนี้เก็บข้อมูลผู้เสียภาษีแยกเป็นสถานประกอบการ กล่าวคือ สาขาต่างๆ จะถูกเก็บเป็นรายการย่อยภายใต้รายการหลักของสถานประกอบการนั้นๆ

      ตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (รายการหลัก)
      ตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (รายการหลัก)
    1. เมื่อผู้ใช้เลือกตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงตารางรายการหลัก
    2. คลิกเลือกรายการที่ต้องการอ่าน/แก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มรายการใหม่ที่หน้านี้ได้ทันที
    3. ตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (รายการย่อย)
      ตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (รายการย่อย)
      หน้าต่างฟอร์มของรายการย่อยในตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
      หน้าต่างฟอร์มของรายการย่อยในตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
    4. เมื่อเลือกรายการหลักแล้ว โปรแกรมจะแสดงหน้าข้อมูลของรายการหลักนั้น โดยข้อมูลของสถานประกอบการอยู่ในฟอร์มด้านบน และข้อมูลสาขาต่างๆ อยู่ในตารางด้านล่าง

คำอธิบายช่องข้อมูล

รายการหลัก
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในรายการหลักนี้
ชื่อผู้เสียภาษี ชื่อของบุคคลหรือนิติบุคคลในรายการหลักนี้
รายการย่อย (สาขา)
StID static ID ของสาขา
รหัสสาขา รหัสสาขา
ชื่อสาขา ชื่อสาขา
ที่อยู่ ที่อยู่สาขา
รหัสไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ของสาขา
โทรศัพท์ โทรศัพท์ของสาขา
โทรสาร โทรสารของสาขา
อีเมล อีเมลของสาขา

ประเภทเงินได้พึงประเมิน

ตารางรหัสประเภทเงินได้พึงประเมิน
ตารางรหัสประเภทเงินได้พึงประเมิน

ประเภทเงินได้พึงประเมิน (WHTDESC) หมายถึง รายการเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย แยกตามประเภทรายการและร้อยละที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย

*** ต้นแบบการพิมพ์ของโปรแกรมอ้างอิงกับค่าตั้งต้นกำหนดไว้ให้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขรายการในตารางรหัสนี้ และสร้างต้นแบบการพิมพ์ใหม่ได้ตามต้องการ

คำอธิบายช่องข้อมูล

StID static ID ของคำอธิบายภาษีหัก ณ ที่จ่าย
รหัส รหัสของคำอธิบายภาษีหัก ณ ที่จ่าย
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ประเภทเงินได้พึงประเมิน คำอธิบายประเภทเงินได้พึงประเมิน

ค่าตั้งต้นของตารางรหัส

StID รหัส อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทเงินได้พึงประเมิน
101 40-1-00 15.00% เงินเดือน
102 40-1-90 15.00% เงินเดือน (จ่ายครั้งเดียวเพราะออกจากงาน)
103 40-1-99 3.00% เงินเดือน (กรณีได้รับอนุมัติให้หักอัตราพิเศษ)
104 40-2-00 15.00% ค่านายหน้า (ผู้อยู่ในประเทศไทย)
105 40-2-10 15.00% ค่านายหน้า (ผู้มิได้อยู่ในประเทศไทย)
106 40-2-90 15.00% ค่านายหน้า (จ่ายครั้งเดียวเพราะออกจากงาน)
107 40-3-00 3.00% ลิขสิทธิ์/ค่าสิทธิ์
108 40-4-10 15.00% ดอกเบี้ย
109 40-4-20 30.00% เงินปันผล (มีเครดิตภาษี)
110 40-4-21 30.00% เงินปันผลของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีฯ
111 40-4-22 30.00% เงินปันผลของกำไรที่ได้รับยกเว้นฯ
112 40-4-23 30.00% เงินปันผลของกำไรส่วนที่หักผลขาดทุนยกมา
113 40-4-24 30.00% เงินปันผลจากกำไรที่รับรู้ทางบัญชี
114 40-4-25 30.00% เงินปันผล (ไม่มีเครดิตภาษี) อื่นๆ
115 40-4-70 30.00% ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น
116 40-4-90 30.00% เงินได้ในกลุ่มดอกเบี้ย/เงินปันผลอื่นๆ
117 40-5-10 5.00% ค่าเช่า
118 40-6-00 3.00% วิชาชีพอิสระ
119 40-7-00 3.00% รับเหมาฯ
120 40-8-10 3.00% รับจ้าง
121 40-8-20 2.00% โฆษณา
122 40-8-30 5.00% ชิงโชค
123 40-8-40 5.00% รางวัล
124 40-8-50 5.00% นักแสดง
125 40-8-60 3.00% รางวัลตามเป้า/ส่งเสริมการขาย
126 40-8-70 1.00% ขนส่ง
127 40-8-80 1.00% ประกันภัย
128 40-8-90 3.00% บริการอื่นๆ

แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ตารางรหัสแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ตารางรหัสแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย

แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (WHTTYPE) คือประเภทของภาษีหัก ณ ที่จ่าย แนกตามแบบที่ใช้ยื่น

*** ต้นแบบการพิมพ์ของโปรแกรมอ้างอิงกับค่าตั้งต้นกำหนดไว้ให้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขรายการในตารางรหัสนี้ และสร้างต้นแบบการพิมพ์ใหม่ได้ตามต้องการ

คำอธิบายช่องข้อมูล

StID static ID ของแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย
รหัส รหัสของแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ชื่อแบบยื่นรายการ ชื่อแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ค่าตั้งต้นของตารางรหัส

StID รหัส ชื่อแบบยื่นรายการ
100 001-0 ภ.ง.ด. 1
101 001-1 ภ.ง.ด. 1ก
102 001-2 ภ.ง.ด. 1ก พิเศษ
103 002-0 ภ.ง.ด. 2
104 002-1 ภ.ง.ด. 2ก
105 003-0 ภ.ง.ด. 3
106 003-1 ภ.ง.ด. 3ก
107 053-0 ภ.ง.ด. 53
108 999-0 ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย

เลขที่เอกสารอัตโนมัติ

ซีรีส์เอกสารตั้งต้น

กลุ่มเอกสาร ซีรีส์ คำอธิบาย
สมุดรายวัน* (จำนวนเท่ากับจำนวนสมุดรายวัน) (เหมือนรหัสสมุดรายวัน) (เหมือนชื่อสมุดรายวัน)
ภาษีขาย VAT ภาษีขาย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย WHT ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

* สำหรับสมุดรายวันที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มเอกสารได้เอง (manual input) เอกสารที่ผู้ใช้เพิ่มต้องใช้ซีรีส์ตรงกับรหัสสมุดรายวันเท่านั้น

การตั้งค่าโมดูล

การตั้งค่าโมดูลบัญชีแยกประเภท
การตั้งค่าโมดูลบัญชีแยกประเภท

คำอธิบายช่องข้อมูล

โมดูลสำหรับตารางรหัสอ้างอิง
ตารางรหัสเจ้าหนี้/ลูกหนี้ เลือกโมดูลที่มีตารางรหัส ผู้ขาย/เจ้าหนี้ (SUPPLIER) และ ลูกค้า/ลูกหนี้ (CUSTOMER) เพื่อขยายการค้นหาข้อมูลผู้เสียภาษีไปยังตารางรหัสเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วย
รหัสบัญชีตั้งต้น
ภาษีซื้อ ผังบัญชีภาษีซื้อ (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
ภาษีขาย ผังบัญชีภาษีขาย (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ผังบัญชีภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผังบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ใช้ตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนสถานะเอกสาร)
การตั้งค่ารอบปีบัญชี
เดือนเริ่มต้น เดือนเริ่มต้นของรอบบัญชี
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
*** ตั้งค่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

การตั้งค่าการบันทึกสมุดรายวัน

สมุดบัญชีของโมดูล

สมุดบัญชีที่โมดูลนี้จะสร้างขึ้นเมื่อเปิดใช้งานมีตามตารางต่อไปนี้

รหัสสมุด ชื่อสมุด ภาษีซื้อ/ขาย หมายเหตุ
BGT บัญชีประมาณการ -
GL0 ยอดยกมา -
JL1 สมุดรายวันจ่ายทั่วไป ซื้อ
JRL สมุดปรับปรุงรายการบัญชี ขาย
YRL รายการปิดงวดบัญชี -

การลงบัญชีรายวัน

โมดูลนี้ไม่มีกิจกรรมที่ต้องบันทึกบัญชีอัตโนมัติ จึงไม่มีค่าตั้งต้น

แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้

การแก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ของโมดูลบัญชีแยกประเภท
การแก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ของโมดูลบัญชีแยกประเภท

คำอธิบายช่องข้อมูล

ตารางรหัส
ผังบัญชี มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
สมุดรายวัน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
แผนก มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
ชนิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
คำอธิบายภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
เลขผู้เสียภาษี มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
เอกสาร
บันทึกสมุดรายวัน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4
อื่นๆ
เรียกรายงาน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4
แก้ไขรายงาน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4
เลขที่เอกสาร มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4

*** สามารถดูความหมายของค่าสิทธิ์ได้ที่หัวข้อ เมนู "การใช้งาน" → แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้

เมนูย่อย "บันทึกสมุดบัญชีรายวัน"

การบันทึกสมุดรายวันมีขั้นตอนดังนี้

      เพจ "บันทึกสมุดบัญชีรายวัน" (เลือกสมุดบัญชีรายวัน)
      เพจ "บันทึกสมุดบัญชีรายวัน" (เลือกสมุดบัญชีรายวัน)
    1. เลือกเมนูย่อย "บันทึกสมุดบัญชีรายวัน" โปรแกรมจะแสดงสมุดรายวันทั้งหมดที่ใช้งาน
    2. เพจ "บันทึกสมุดบัญชีรายวัน" (สมุดรายวันซื้อสินทรัพย์)
      เพจ "บันทึกสมุดบัญชีรายวัน" (สมุดรายวันซื้อสินทรัพย์)
    3. คลิกเลือกสมุดรายวันที่ต้องการดู/แก้ไขข้อมูล โปรแกรมจะแสดงเอกสารสุดท้ายในสมุดรายวันนั้น (เรียงลำดับตามเลขที่เอกสาร: กรณีไม่มีเอกสาร จะแสดงเอกสารเปล่า) ส่วนรายละเอียดเอกสารแบ่งออกเป็น 3 แท็บ ได้แก่
      • บัญชี ( Alt+L : หมายเลข 1): แสดงรายการทางบัญชี
      • ใบกำกับฯ ( Alt+I : หมายเลข 2): แสดงรายการใบกำกับภาษีซื้อหรือขาย (แท็บนี้มีเฉพาะสมุดรายวันที่ใช้บันทึกใบกำกับภาษีเท่านั้น)

        *** ปุ่ม ปุ่มพิมพ์รายการย่อย ที่อยู่ในแท็บใช้พิมพ์ใบกำกับฯ ทุกใบพร้อมกัน หากต้องการพิมพ์ทีละใบ ให้ใช้ปุ่ม "พิมพ์" ในหน้าต่างฟอร์มของแต่ละรายการในตาราง

      • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ( Alt+H : หมายเลข 3): แสดงรายการใบสำคัญหัก/ถูกหัก ณ ที่จ่าย

        *** ปุ่ม ปุ่มพิมพ์รายการย่อย ที่อยู่ในแท็บใช้พิมพ์ใบสำคัญฯ ทุกใบพร้อมกัน หากต้องการพิมพ์ทีละใบ ให้ใช้ปุ่ม "พิมพ์" ในหน้าต่างฟอร์มของแต่ละรายการในตาราง

คำอธิบายช่องข้อมูล

รายการหลัก (หัวเอกสาร)
เลขที่เอกสาร เลขที่เอกสาร

*** ใช้ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติได้

*** ซีรีส์เอกสารที่ใช้ได้คือซีรีส์ที่ตรงกับรหัสสมุดรายวัน

แผนก แผนก
วันที่ วันที่ของเอกสาร

*** ต้องอยู่ในเดือนเดียวกันกับวันที่ของ session

คำอธิบาย คำอธิบายกิจกรรมทางบัญชี
บันทึก บันทึกรายละเอียดของกิจกรรมทางบัญชี
ล็อค ไม่อนุญาตให้ระบบบันทึกบัญชีอัตโนมัติแก้ไขเอกสารนี้

*** การล็อคเอกสารไม่มีผลต่อการบันทึกบัญชีโดยผู้ใช้อื่นหากต้องการจำกัดการเข้าถึงโดยผู้ใช้ ให้ใช้ฟังก์ชันแช่แข็ง/ผ่านบัญชีแทน

*** ในสถานะปลดล็อค สัญลักษณ์จะเป็นสีเขียว ( ปุ่มล็อคเอกสารรายวัน (ปลดล็อค) ), ในสถานะล็อค สัญลักษณ์จะเป็นสีแดง ( ปุ่มล็อคเอกสารรายวัน (ล็อค) )

รายการย่อย #1 (บัญชี)
ผังบัญชี รหัสบัญชีสำหรับรายการนี้
คำอธิบาย คำอธิบายรายการ
เดบิต *** ใส่ค่าบวกหรือศูนย์
เครดิต *** ใส่ค่าบวกหรือศูนย์
รายการย่อย #2 (ใบกำกับฯ)
เลขใบกำกับภาษี *** ใช้ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติ สำหรับสมุดรายวันที่บันทึกภาษีขาย

*** บังคับซีรีส์เอกสารในกลุ่ม "ภาษีขาย" ภายใต้โมดูลเจ้าของสมุดสำหรับสมุดรายวันที่บันทึกภาษีขาย

*** ไม่บังคับซีรีส์เอกสาร สำหรับสมุดรายวันที่บันทึกภาษีซื้อ

วันที่ วันที่บนใบกำกับภาษี
เดือน เดือนภาษี
ค้นหา ค้นหาข้อมูลผู้เสียภาษี โดยค้นหาจาก
  • เลขผู้เสียภาษี สำหรับรายการจากตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  • รหัสเจ้าหนี้/ลูกหนี้ สำหรับรายการจากตารางรหัสลูกค้า/ลูกหนี้ และ ผู้ขาย/เจ้าหนี้

*** หากพบข้อมูล ระบบจะใส่กรอกข้อมูล ชื่อ, เลขผู้เสียภาษี, สาขา, ที่อยู่, รหัสไปรษณีย์ ให้โดยอัตโนมัติ

*** สามารถข้ามช่องนี้เพื่อกรอกข้อมูลผู้เสียภาษีเองเฉพาะใบกำกับฯ นี้ได้

เลขผู้เสียภาษี เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
สาขา สาขาที่ออก/รับใบกำกับภาษี
ชื่อ ชื่อผู้ออก/รับใบกำกับภาษี
ที่อยู่ ที่อยู่ผู้ออก/รับใบกำกับภาษี
รหัสไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ผู้ออก/รับใบกำกับภาษี
คำอธิบาย คำอธิบายรายการในใบกำกับภาษี
ยอดรวมก่อนภาษี ยอดรวมทั้งหมดก่อนหักภาษี
ยอดที่ได้รับการยกเว้น VAT ยอดที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฐานภาษี ยอดส่วนที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
VAT ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม

*** โปรแกรมจะคำนวณค่าให้อัตโนมัติจากอัตราภาษีที่กำหนดไว้แต่ผู้ใช้สามารถแก้ไขค่านี้เองได้

รายการย่อย #3 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
เลขใบสำคัญหัก ณ ที่จ่าย *** ใช้ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติ สำหรับรายการหัก ณ ที่จ่าย

*** บังคับซีรีส์เอกสารในกลุ่ม "ภาษีหัก ณ ที่จ่าย" ภายใต้โมดูลเจ้าของสมุดสำหรับรายการหัก ณ ที่จ่าย

*** ไม่บังคับซีรีส์เอกสาร สำหรับรายการถูกหัก ณ ที่จ่าย

วันที่ วันที่ออกใบสำคัญหัก ณ ที่จ่าย
เดือน เดือนภาษี
ค้นหา ค้นหาข้อมูลผู้เสียภาษี โดยค้นหาจาก
  • เลขผู้เสียภาษี สำหรับรายการจากตารางรหัสเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  • รหัสเจ้าหนี้/ลูกหนี้ สำหรับรายการจากตารางรหัสลูกค้า/ลูกหนี้ และ ผู้ขาย/เจ้าหนี้

*** หากพบข้อมูล ระบบจะใส่กรอกข้อมูล ชื่อ, เลขผู้เสียภาษี, สาขา, ที่อยู่, รหัสไปรษณีย์, แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย, คำอธิบาย ให้โดยอัตโนมัติ

*** สามารถข้ามช่องนี้เพื่อกรอกข้อมูลผู้เสียภาษีเองเฉพาะใบกำกับฯ นี้ได้

ชื่อ ชื่อผู้หัก/ถูกหัก ณ ที่จ่าย
เลขผู้เสียภาษี เลขประจำตัวผู้หัก/ถูกหัก ณ ที่จ่าย
สาขา สาขาที่หัก/ถูกหัก ณ ที่จ่าย
ที่อยู่ ที่อยู่ผู้หัก/ถูกหัก ณ ที่จ่าย
รหัสไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ผู้หัก/ถูกหัก ณ ที่จ่าย
แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย
คำอธิบาย คำอธิบายรายการหัก ณ ที่จ่าย
เงื่อนไขการหักภาษี เลือกเงื่อนไขการหัก ณ ที่จ่าย
  • หัก ณ ที่จ่าย
  • จ่ายให้ครั้งเดียว
  • จ่ายให้ตลอดไป
  • อื่นๆ (ระบุ)
ยอดชำระ ยอดเงินก่อนหัก ณ ที่จ่าย
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย อัตราหัก ณ ที่จ่าย

*** ค่านี้อ่านจากตารางรหัส "คำอธิบายภาษีหัก ณ ที่จ่าย" แต่ผู้ใช้เปลี่ยนค่าเองได้

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ยอดภาษีที่ทางระบบคำนวณให้

*** ระบบคำนวณให้ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้

เงินกองทุนสำรองฯ หมายเลขกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินสมทบกองทุนสำรองฯ เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เลขกองทุนประกันสังคม หมายเลขกองทุนประกันสังคม
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

เมนูย่อย "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน"

การดู/แก้ไขการตั้งค่างบแสดงฐานะการเงินมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกเมนูย่อย "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" โปรแกรมจะแสดงแบบงบทั้งหมดที่บันทึกไว้
  2. คลิกเลือกแบบงบที่ต้องการดู/แก้ไข โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดของแบบงบที่เลือก

ส่วนรายละเอียดของงบแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ (6 แท็บ) ได้แก่

  • สินทรัพย์ แบ่งเป็น สินทรัพย์หมุนเวียน และ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
  • เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บสินทรัพย์)
    เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บสินทรัพย์)
  • หนี้สิน แบ่งเป็น หนี้สินหมุนเวียน และ หนี้สินไม่หมุนเวียน
  • เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บหนี้สิน)
    เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บหนี้สิน)
  • เจ้าของ
    • ข้อมูลประเภทหุ้น ใช้แสดงรายละเอียดหุ้นในงบแสดงฐานะการเงิน
    • เงินปันผล ใช้แสดงใน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
    • ตารางผังบัญชี 4 ตาราง ใช้แสดงรายละเอียดในงบแสดงฐานะการเงิน และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
      • ทุนที่ชำระแล้ว
      • ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
      • กำไร (ขาดทุน) สะสมจัดสรรแล้ว
      • กำไร (ขาดทุน) สะสมจัดสรรแล้ว
      • องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น
  • เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บเจ้าของ #1)
    เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บเจ้าของ #1)
    เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บเจ้าของ #2)
    เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บเจ้าของ #2)
  • รายได้
  • เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บรายได้)
    เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บรายได้)
  • ค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น ค่าใช้จ่าย, ต้นทุนทางการเงิน, ภาษีเงินได้
  • เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บค่าใช้จ่าย)
    เพจ "ตั้งค่างบแสดงฐานะการเงิน" (แท็บค่าใช้จ่าย)