ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้อมูลพื้นฐานของระบบคูนิฟ็อกซ์"

จาก คูนิฟ็อกซ์ วิกิ
 
(ไม่แสดง 17 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{คู่มือการใช้โปรแกรมคูนิฟ็อกซ์}}
ในบทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่จำเป็นในการติดตั้งและการใช้งาน รวมไปถึงข้อมูลทางจำเพาะทางเทคนิคบางส่วน เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าใจถึงความสามารถ และข้อควรระวังในการใช้ระบบคูนิฟ็อกซ์
ในบทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่จำเป็นในการติดตั้งและการใช้งาน รวมไปถึงข้อมูลทางจำเพาะทางเทคนิคบางส่วน เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าใจถึงความสามารถ และข้อควรระวังในการใช้ระบบคูนิฟ็อกซ์


บรรทัดที่ 73: บรรทัดที่ 76:


== โครงสร้างข้อมูล ==
== โครงสร้างข้อมูล ==
ระบบ CuneiFox มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลดังนี้
ระบบคูนิฟ็อกซ์มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลดังนี้
[[ไฟล์:CuneiFox filesystem.png|500px|thumb|center|alt=โครงสร้างไฟล์ข้อมูลของแต่ละบริษัทในระบบคูนิฟ็อกซ์|โครงสร้างไฟล์ข้อมูลของแต่ละบริษัทในระบบคูนิฟ็อกซ์]]
[[ไฟล์:CuneiFox filesystem.png|500px|thumb|center|alt=โครงสร้างไฟล์ข้อมูลของแต่ละบริษัทในระบบคูนิฟ็อกซ์|โครงสร้างไฟล์ข้อมูลของแต่ละบริษัทในระบบคูนิฟ็อกซ์]]


== ตารางรหัส, Static ID, และแท็ก ==
== ตารางรหัส, Static ID, และแท็ก ==
=== Static ID ===
=== ตารางรหัสและ Static ID ===
ตารางรหัสของระบบคูนิฟ็อกซ์ใช้ static ID (เลขประจำรายการคงที่) ในการอ้างอิงรายการในตารางรหัสทุกตาราง โดยผู้ใช้สามารถกำหนดค่า static ID ได้เองเมื่อเพิ่มรายการ แต่จะไม่สามารถแก้ไขค่านี้ในภายหลังได้
==== ข้อดีของการใช้ static ID ====
==== ข้อดีของการใช้ static ID ====
* สามารถเปลี่ยนแปลงรหัสต่างๆ ได้ ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการจัดระเบียบรหัสอ้างอิงใหม่ จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบที่ใช้รหัสในการอ้างอิงโดยตรง
* ในกรณีที่แต่ละสาขา/บริษัทในเครือไม่ได้ใช้ตารางร่วมกัน แต่ละหน่วยงานยังสามารถใช้รหัสรายการแตกต่างกันตามความสะดวกได้ เพียงแค่ตั้ง static ID ของวัตถุเดียวกันให้มีค่าตรงกัน ต่างจากระบบที่อ้างอิงด้วยเลขประจำรายการที่ระบบจ่ายให้โดยอัตโนมัติ (id หรือ row_id)
====  ข้อควรระวังในการใช้ static ID ====
====  ข้อควรระวังในการใช้ static ID ====
* การเปลี่ยนแปลงรหัสรายการใช้เพื่อจัดระเบียบรายการใหม่เท่านั้น โดย static ID ยังต้องอ้างอิงถึงวัตถุเดิม ไม่ควรเปลี่ยนรหัสจนทำให้ static ID ที่เคยอ้างอิงวัตถุหนึ่งอยู่ ไปอ้างอิงถึงอีกวัตถุหนึ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
{| class="wikitable" style="width:85%"
|+ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงรหัสสินค้าที่ถูกต้อง (ในที่นี้เพื่อจัดระเบียบความยาวรหัสใหม่ให้เท่ากัน)
! style="width: 20%" | Static ID !! style="width: 40%" | รหัสสินค้าเดิม !! style="width: 40%" | รหัสสินค้าใหม่
|-
| 1 || PEN-0001 || PEN-0001
|-
| 2 || PENCIL001 || style="background-color:#c7eacc;" | PCL-0001
|-
| 3 || TV1 || style="background-color:#c7eacc;" | TV0-0001
|}
{| class="wikitable" style="width:85%"
|+ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงรหัสสินค้าที่ไม่แนะนำ (ในที่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงสินค้าที่อ้างอิงโดย static ID หมายเลข 2 และ 3)
! style="width: 20%" | Static ID !! style="width: 40%" | รหัสสินค้าเดิม !! style="width: 40%" | รหัสสินค้าใหม่
|-
| 1 || PEN-0001 || PEN-0001
|-
| 2 || PENCIL001 || style="background-color:#f6c7c4;" | TV0-0001
|-
| 3 || TV1 || style="background-color:#f6c7c4;" | PCL-0001
|}
=== แท็กรายการ ===
=== แท็กรายการ ===
สำหรับตารางรหัส'''ผู้ขาย/เจ้าหนี้''', '''ลูกค้า/ลูกหนี้''', และ'''สินค้า''' ระบบคูนิฟ็อกซ์มีฟังก์ชันแท็กรายการ (hashtag) เพื่อความสะดวกในการจัดกลุ่ม โดยมีข้อดีดังนี้
* ทำให้รายการหนึ่งสามารถจัดอยู่ในหลายกลุ่มได้พร้อมๆ กัน
* ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลแท็กที่ต้องการลงในช่องข้อมูล "แท็ก" ของรายการนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องเพิ่มกลุ่มที่จะใช้ในอีกฐานข้อมูลหนึ่งก่อน
==== การใช้งานแท็กรายการ ====
ในที่นี้จะใช้แท็กรายการในตารางรหัสสินค้ามาแสดงเป็นตัวอย่าง โดยกำหนดค่าดังนี้
* สินค้ารหัส TV0-0001 เป็นโทรทัศน์ อาจกรอกข้อมูลแท็กเป็น: {{mono|#โทรทัศน์#ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้ไฟฟ้า#บันเทิง#SONY#OLED}}
* สินค้ารหัส PEN-0001 เป็นปากกา อาจกรอกข้อมูลแท็กเป็น: {{mono|#เครื่องเขียน#ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้สำนักงาน#ลูกลื่น#PARKER}}
ในรายงานที่มีสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของขอบเขตข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือกใช้แท็กเพื่อระบุสินค้าที่ต้องการได้ โดยสามารถระบุเงื่อนไขของแท็กเป็น
* '''{{mono|AND}}''': เพื่อให้ระบบเลือกเฉพาะสินค้าที่มีครบทุกแท็กที่เลือก เช่น ถ้าเรียกรายงานของสินค้าด้วยแท็ก '''{{mono|AND}}''' {{mono|#ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้ไฟฟ้า}} ระบบจะพบสินค้า TV0-0001 แต่ไม่พบสินค้า PEN-0001 (เพราะสินค้านี้ไม่มีแท็ก {{mono|#เครื่องใช้ไฟฟ้า}})
* '''{{mono|OR}}''': เพื่อให้ระบบเลือกสินค้าที่มีแท็กใดแท็กหนึ่งที่เลือก เช่น ถ้าเรียกรายงานของสินค้า ด้วยแท็ก '''{{mono|OR}}''' {{mono|#ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้ไฟฟ้า}} ระบบจะพบสินค้าทั้ง TV0-0001 (มีครบทั้ง 2 แท็ก) และ PEN-0001 (พบแท็ก {{mono|#ของใช้ในบ้าน}})
== พฤติกรรมในการแก้ไขเอกสาร ==
== พฤติกรรมในการแก้ไขเอกสาร ==
asdasf
[[ไฟล์:Editting marker.png|720px|thumb|center|alt=ตำแหน่งข้อความเตือนเอกสารกำลังถูกแก้ไข|ตำแหน่งข้อความเตือนเอกสารกำลังถูกแก้ไข]]
เพื่อป้องกันการเข้าแก้ไขเอกสารซ้ำซ้อนกัน เมื่อผู้ใช้คนแรกกดปุ่มแก้ไขเอกสาร ระบบคูนิฟ็อกซ์จะปิดเอกสารนั้นไม่ให้ผู้ใช้อื่นเข้าแก้ไข และจะแสดงสถานะ '''{{mono|EDIT}}''' (เมื่อนำเคอร์เซอร์ชี้ค้างเอาไว้ จะแสดงชื่อผู้ใช้ที่กำลังแก้ไขเอกสารอยู่)
 
การปิดกั้นเอกสารในลักษณะนี้จะถูกปลดก็ต่อเมื่อ
 
* ผู้ใช้เสร็จสิ้นการแก้ไขเอกสาร (โปรแกรมได้ออกจากโหมดการแก้ไขเอกสารในฝั่งผู้ใช้)
* โปรแกรมฝั่งผู้ใช้หยุดการทำงานโดยไม่คาดคิด เช่น ไฟฟ้าดับ, เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกปิด/รีสตาร์ต เป็นต้น
 




{{คู่มือการใช้โปรแกรมคูนิฟ็อกซ์}}
{{คู่มือการใช้โปรแกรมคูนิฟ็อกซ์}}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:05, 15 พฤษภาคม 2566


ในบทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่จำเป็นในการติดตั้งและการใช้งาน รวมไปถึงข้อมูลทางจำเพาะทางเทคนิคบางส่วน เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าใจถึงความสามารถ และข้อควรระวังในการใช้ระบบคูนิฟ็อกซ์

ความต้องการของระบบ

เครื่องเซิร์ฟเวอร์

เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (server) เป็นเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรมและเก็บข้อมูลทั้งหมด มีความต้องการขั้นต่ำดังนี้

  • หน่วยเก็บข้อมูล solid-state drive
ขนาดขั้นต่ำของหน่วยเก็บข้อมูล
หัวข้อการใช้งาน ขนาดขั้นต่ำ
ติดตั้งระบบและโปรแกรม 10 GB
ตารางรหัส (ไม่รวมไฟล์แนบหรือภาพ) 10 – 20 MB
ข้อมูลแต่ละเดือน (ไม่รวมไฟล์แนบหรือภาพ) 5 – 20 MB / เดือน
  • ระบบปฏิบัติการ: Ubuntu Linux 18.04 ขึ้นไป (หรือระบบอื่นที่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ตามรายการต่อไปนี้)
ซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ต้องติดตั้งในเซิร์ฟเวอร์
รายการ เวอร์ชันขั้นต่ำ
python3 3.8
pdftk 2.02
sqlite3 3.24
inkscape 1.0

เครื่องลูกข่าย

เครื่องลูกข่าย (client) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ผู้ใช้ใช้เข้าถึงและทำงานกับระบบคูนิฟ็อกซ์ มีความต้องการขั้นต่ำดังนี้

ซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ต้องติดตั้งในเครื่องลูกข่ายสำหรับการใช้งานรูปแบบต่างๆ
การใช้งาน ซอฟต์แวร์
การใช้งานทั่วไป (จำเป็น) โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
  • Mozilla Firefox 88+
  • Google Chrome 90+
  • เบราว์เซอร์อื่นที่พัฒนาจาก Chromium 90+ (เช่น Microsoft Edge)
กรณีต้องการใช้งานไฟล์ PDF ภายนอกเว็บเบราว์เซอร์ โปรแกรมอ่านไฟล์ PDF เช่น
  • Adobe Reader
  • Adobe Acrobat
  • Evince
  • Foxit Reader
กรณีต้องการทำงานกับไฟล์กระดาษทำการ (spreadsheet) ที่ส่งออกมาจากโปรแกรม โปรแกรมกระดาษทำการที่สามารถอ่าน/แก้ไขไฟล์สกุล XLSX ได้ เช่น
  • LibreOffice
  • OpenOffice.org
  • Microsoft Excel
  • Gnumeric
  • หรือจะใช้บริการโปรแกรมออนไลน์ เช่น Google Sheet ก็ได้
กรณีต้องการแก้ไขไฟล์รูปแบบการพิมพ์

โปรแกรมเวกเตอร์กราฟิก (vector graphic) เช่น

  • InkScape
  • Adobe Illustrator
กรณีต้องการทำงานกับไฟล์สกุล ZIP (ไฟล์รวม เมื่อโปรแกรมส่งออกไฟล์มากกว่า 1 ไฟล์พร้อมกัน)

โปรแกรมที่สามารถเปิดไฟล์ ZIP ได้ เช่น

  • IZArc
  • WinRAR
กรณีต้องการทำงานกับไฟล์ฐานข้อมูลในชุดข้อมูลสำรอง
  • ต้องติดตั้ง SQLite 3.24+
  • แนะนำให้ติดตั้ง DB Browser for SQLite (sqlitebrowser) เพิ่มเติมเพื่อความสะดวก

โครงสร้างข้อมูล

ระบบคูนิฟ็อกซ์มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลดังนี้

โครงสร้างไฟล์ข้อมูลของแต่ละบริษัทในระบบคูนิฟ็อกซ์
โครงสร้างไฟล์ข้อมูลของแต่ละบริษัทในระบบคูนิฟ็อกซ์

ตารางรหัส, Static ID, และแท็ก

ตารางรหัสและ Static ID

ตารางรหัสของระบบคูนิฟ็อกซ์ใช้ static ID (เลขประจำรายการคงที่) ในการอ้างอิงรายการในตารางรหัสทุกตาราง โดยผู้ใช้สามารถกำหนดค่า static ID ได้เองเมื่อเพิ่มรายการ แต่จะไม่สามารถแก้ไขค่านี้ในภายหลังได้

ข้อดีของการใช้ static ID

  • สามารถเปลี่ยนแปลงรหัสต่างๆ ได้ ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการจัดระเบียบรหัสอ้างอิงใหม่ จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบที่ใช้รหัสในการอ้างอิงโดยตรง
  • ในกรณีที่แต่ละสาขา/บริษัทในเครือไม่ได้ใช้ตารางร่วมกัน แต่ละหน่วยงานยังสามารถใช้รหัสรายการแตกต่างกันตามความสะดวกได้ เพียงแค่ตั้ง static ID ของวัตถุเดียวกันให้มีค่าตรงกัน ต่างจากระบบที่อ้างอิงด้วยเลขประจำรายการที่ระบบจ่ายให้โดยอัตโนมัติ (id หรือ row_id)

ข้อควรระวังในการใช้ static ID

  • การเปลี่ยนแปลงรหัสรายการใช้เพื่อจัดระเบียบรายการใหม่เท่านั้น โดย static ID ยังต้องอ้างอิงถึงวัตถุเดิม ไม่ควรเปลี่ยนรหัสจนทำให้ static ID ที่เคยอ้างอิงวัตถุหนึ่งอยู่ ไปอ้างอิงถึงอีกวัตถุหนึ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงรหัสสินค้าที่ถูกต้อง (ในที่นี้เพื่อจัดระเบียบความยาวรหัสใหม่ให้เท่ากัน)
Static ID รหัสสินค้าเดิม รหัสสินค้าใหม่
1 PEN-0001 PEN-0001
2 PENCIL001 PCL-0001
3 TV1 TV0-0001
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงรหัสสินค้าที่ไม่แนะนำ (ในที่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงสินค้าที่อ้างอิงโดย static ID หมายเลข 2 และ 3)
Static ID รหัสสินค้าเดิม รหัสสินค้าใหม่
1 PEN-0001 PEN-0001
2 PENCIL001 TV0-0001
3 TV1 PCL-0001

แท็กรายการ

สำหรับตารางรหัสผู้ขาย/เจ้าหนี้, ลูกค้า/ลูกหนี้, และสินค้า ระบบคูนิฟ็อกซ์มีฟังก์ชันแท็กรายการ (hashtag) เพื่อความสะดวกในการจัดกลุ่ม โดยมีข้อดีดังนี้

  • ทำให้รายการหนึ่งสามารถจัดอยู่ในหลายกลุ่มได้พร้อมๆ กัน
  • ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลแท็กที่ต้องการลงในช่องข้อมูล "แท็ก" ของรายการนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องเพิ่มกลุ่มที่จะใช้ในอีกฐานข้อมูลหนึ่งก่อน

การใช้งานแท็กรายการ

ในที่นี้จะใช้แท็กรายการในตารางรหัสสินค้ามาแสดงเป็นตัวอย่าง โดยกำหนดค่าดังนี้

  • สินค้ารหัส TV0-0001 เป็นโทรทัศน์ อาจกรอกข้อมูลแท็กเป็น: #โทรทัศน์#ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้ไฟฟ้า#บันเทิง#SONY#OLED
  • สินค้ารหัส PEN-0001 เป็นปากกา อาจกรอกข้อมูลแท็กเป็น: #เครื่องเขียน#ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้สำนักงาน#ลูกลื่น#PARKER

ในรายงานที่มีสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของขอบเขตข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือกใช้แท็กเพื่อระบุสินค้าที่ต้องการได้ โดยสามารถระบุเงื่อนไขของแท็กเป็น

  • AND: เพื่อให้ระบบเลือกเฉพาะสินค้าที่มีครบทุกแท็กที่เลือก เช่น ถ้าเรียกรายงานของสินค้าด้วยแท็ก AND #ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบจะพบสินค้า TV0-0001 แต่ไม่พบสินค้า PEN-0001 (เพราะสินค้านี้ไม่มีแท็ก #เครื่องใช้ไฟฟ้า)
  • OR: เพื่อให้ระบบเลือกสินค้าที่มีแท็กใดแท็กหนึ่งที่เลือก เช่น ถ้าเรียกรายงานของสินค้า ด้วยแท็ก OR #ของใช้ในบ้าน#เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบจะพบสินค้าทั้ง TV0-0001 (มีครบทั้ง 2 แท็ก) และ PEN-0001 (พบแท็ก #ของใช้ในบ้าน)

พฤติกรรมในการแก้ไขเอกสาร

ตำแหน่งข้อความเตือนเอกสารกำลังถูกแก้ไข
ตำแหน่งข้อความเตือนเอกสารกำลังถูกแก้ไข

เพื่อป้องกันการเข้าแก้ไขเอกสารซ้ำซ้อนกัน เมื่อผู้ใช้คนแรกกดปุ่มแก้ไขเอกสาร ระบบคูนิฟ็อกซ์จะปิดเอกสารนั้นไม่ให้ผู้ใช้อื่นเข้าแก้ไข และจะแสดงสถานะ EDIT (เมื่อนำเคอร์เซอร์ชี้ค้างเอาไว้ จะแสดงชื่อผู้ใช้ที่กำลังแก้ไขเอกสารอยู่)

การปิดกั้นเอกสารในลักษณะนี้จะถูกปลดก็ต่อเมื่อ

  • ผู้ใช้เสร็จสิ้นการแก้ไขเอกสาร (โปรแกรมได้ออกจากโหมดการแก้ไขเอกสารในฝั่งผู้ใช้)
  • โปรแกรมฝั่งผู้ใช้หยุดการทำงานโดยไม่คาดคิด เช่น ไฟฟ้าดับ, เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกปิด/รีสตาร์ต เป็นต้น