ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน"

จาก คูนิฟ็อกซ์ วิกิ
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 451: บรรทัดที่ 451:


== แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ ==
== แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ ==
[[ไฟล์:Cuneifox wg permission.png|720px|thumb|center|alt=การแก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ของโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน|การแก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ของโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน]]
=== คำอธิบายช่องข้อมูล ===
=== คำอธิบายช่องข้อมูล ===


บรรทัดที่ 479: บรรทัดที่ 482:


เมนูย่อยนี้ใช้ในการบันทึกรายละเอียดการจ่ายค่าจ้างในแต่ละงวด เมื่อผู้ใช้สร้างเอกสารจ่ายค่าจ้างแล้ว ระบบจะดึงข้อมูลเอกสารไปบันทึกรายได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสม พร้อมลงบันทึกบัญชีรายวันให้โดยอัตโนมัติ
เมนูย่อยนี้ใช้ในการบันทึกรายละเอียดการจ่ายค่าจ้างในแต่ละงวด เมื่อผู้ใช้สร้างเอกสารจ่ายค่าจ้างแล้ว ระบบจะดึงข้อมูลเอกสารไปบันทึกรายได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสม พร้อมลงบันทึกบัญชีรายวันให้โดยอัตโนมัติ
[[ไฟล์:Cuneifox wg payrollvouch browse.png|720px|thumb|center|alt=เพจ "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน"|เพจ "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน"]]


{{3stars}} ในเพจนี้ ระบบจะพยายามคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในงวดการจ่ายค่าจ้างให้ โดยอาศัยข้อมูลเงินได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมของพนักงานแต่ละคน ดังนั้น ผู้ใช้ควรสั่ง '''[[เมนู_"จัดการข้อมูล"#เมนูย่อย_"คำนวณข้อมูลใหม่"|"คำนวณข้อมูลใหม่"]]''' อีกครั้งก่อนกรอกข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้คำนวณมีความถูกต้องแม่นยำ
{{3stars}} ในเพจนี้ ระบบจะพยายามคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในงวดการจ่ายค่าจ้างให้ โดยอาศัยข้อมูลเงินได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมของพนักงานแต่ละคน ดังนั้น ผู้ใช้ควรสั่ง '''[[เมนู_"จัดการข้อมูล"#เมนูย่อย_"คำนวณข้อมูลใหม่"|"คำนวณข้อมูลใหม่"]]''' อีกครั้งก่อนกรอกข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้คำนวณมีความถูกต้องแม่นยำ
บรรทัดที่ 609: บรรทัดที่ 614:


# กดปุ่ม [[ไฟล์:Cuneifox main add btn.png|25px|frameless|alt=ปุ่มเพิ่มเอกสาร/รายการหลัก|ปุ่มเพิ่มเอกสาร/รายการหลัก]] เพื่อเพิ่มเอกสาร หรือ [[ไฟล์:Cuneifox main edit btn.png|25px|frameless|alt=ปุ่มแก้ไขเอกสาร/รายการหลัก|ปุ่มแก้ไขเอกสาร/รายการหลัก]] เพื่อแก้ไขเอกสารตามปกติ
# กดปุ่ม [[ไฟล์:Cuneifox main add btn.png|25px|frameless|alt=ปุ่มเพิ่มเอกสาร/รายการหลัก|ปุ่มเพิ่มเอกสาร/รายการหลัก]] เพื่อเพิ่มเอกสาร หรือ [[ไฟล์:Cuneifox main edit btn.png|25px|frameless|alt=ปุ่มแก้ไขเอกสาร/รายการหลัก|ปุ่มแก้ไขเอกสาร/รายการหลัก]] เพื่อแก้ไขเอกสารตามปกติ
# กรอกข้อมูลหัวเอกสารให้ครบถ้วน จากนั้นบันทึกหัวเอกสาร (ด้วยการกดปุ่ม [[ไฟล์:Cuneifox main proceed btn.png|25px|frameless|alt=ปุ่มยืนยันเอกสาร/รายการหลัก|ปุ่มยืนยันเอกสาร/รายการหลัก]] )
# กรอกข้อมูลหัวเอกสารให้ครบถ้วน จากนั้นบันทึกหัวเอกสาร (ด้วยการกดปุ่ม [[ไฟล์:Cuneifox main proceed btn.png|25px|frameless|alt=ปุ่มยืนยันเอกสาร/รายการหลัก|ปุ่มยืนยันเอกสาร/รายการหลัก]] )<br>[[ไฟล์:Cuneifox wg payrollvouch import modal.png|720px|thumb|center|alt=หน้าต่างนำเข้าไฟล์กระดาษทำการค่าจ้าง|หน้าต่างนำเข้าไฟล์กระดาษทำการค่าจ้าง]]
# ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการกรอกรายการย่อย โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง '''"นำเข้าตารางข้อมูลค่าจ้าง"''' หากผู้ใช้ต้องการกรอกข้อมูลค่าจ้างทีละรายการ สามารถกดปุ่ม '''"ปิด"''' เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป (รายการย่อย) ได้ทันที  
# ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการกรอกรายการย่อย โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง '''"นำเข้าตารางข้อมูลค่าจ้าง"''' หากผู้ใช้ต้องการกรอกข้อมูลค่าจ้างทีละรายการ สามารถกดปุ่ม '''"ปิด"''' เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป (รายการย่อย) ได้ทันที  
# หากผู้ใช้ยังไม่มีไฟล์เตรียมไว้ก่อน ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างโดยกดปุ่ม '''"ดาวน์โหลดไฟล์ต้นแบบ"''' ''(หากผู้ใช้มีไฟล์กระดาษทำการที่มีโครงสร้างเหมาะสมเตรียมเอาไว้อยู่แล้ว สามารถข้ามไปขั้นตอนที่ 8 ได้ทันที)''
# หากผู้ใช้ยังไม่มีไฟล์เตรียมไว้ก่อน ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างโดยกดปุ่ม '''"ดาวน์โหลดไฟล์ต้นแบบ"''' ''(หากผู้ใช้มีไฟล์กระดาษทำการที่มีโครงสร้างเหมาะสมเตรียมเอาไว้อยู่แล้ว สามารถข้ามไปขั้นตอนที่ 8 ได้ทันที)''<br>[[ไฟล์:Cuneifox wg payroll xlsx.png|720px|thumb|center|alt=ไฟล์กระดาษทำการสำหรับกรอกข้อมูลการจ่ายค่าจ้าง|ไฟล์กระดาษทำการสำหรับกรอกข้อมูลการจ่ายค่าจ้าง]]
# เมื่อเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา จะพบไฟล์กระดาษทำการที่มีทั้งหมด 2 ชีท
# เมื่อเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา จะพบไฟล์กระดาษทำการที่มีทั้งหมด 2 ชีท
#* '''ชีท "_desc"''' ระบุความหมายของแต่ละคอลัมน์ พร้อมวิธีใช้
#* '''ชีท "_desc"''' ระบุความหมายของแต่ละคอลัมน์ พร้อมวิธีใช้
บรรทัดที่ 625: บรรทัดที่ 630:
# ระบบจะอ่านไฟล์ และนำเข้าข้อมูล  
# ระบบจะอ่านไฟล์ และนำเข้าข้อมูล  
#* '''หากนำเข้าสำเร็จ''' โปรแกรมจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป (รายการย่อย)  
#* '''หากนำเข้าสำเร็จ''' โปรแกรมจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป (รายการย่อย)  
#* '''หากนำเข้าไม่สำเร็จ''' โปรแกรมจะแจ้งปัญหาที่พบให้ผู้ใช้ทราบผ่านไฟล์บันทึก (log) ให้ผู้ใช้เปิดดูรายละเอียดและแก้ไขไฟล์กระดาษทำการอีกครั้ง
#* '''หากนำเข้าไม่สำเร็จ''' โปรแกรมจะแจ้งปัญหาที่พบให้ผู้ใช้ทราบผ่านไฟล์บันทึก (log) ให้ผู้ใช้เปิดดูรายละเอียดและแก้ไขไฟล์กระดาษทำการอีกครั้ง<br>[[ไฟล์:Cuneifox serve file.png|720px|thumb|center|alt=เพจนำส่งไฟล์ log บันทึการนำเข้า|เพจนำส่งไฟล์ log บันทึการนำเข้า]]


== การเก็บประวัติต่างๆ ==
== การเก็บประวัติต่างๆ ==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 21:46, 19 พฤษภาคม 2566


โมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน (CuneiFox Default WG) ใช้สำหรับคำนวณค่าแรงที่จะจ่ายให้กับพนักงานในแต่ละงวด โมดูลค่าแรงนี้มาพร้อมกับฟังก์ชันการคำนวณเงินสมทบต่างๆ, คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, และระบบการหัก ณ ที่จ่ายค่าแรง

เมนูของโมดูล "ค่าจ้าง/เงินเดือน"
เมนูของโมดูล "ค่าจ้าง/เงินเดือน"

ในหัวข้อนี้ จะแนะนำองค์ประกอบอื่นๆ ของโมดูลก่อน จากนั้นจึงจะกล่าวถึงเมนูย่อยต่างๆ ในเมนูเฉพาะของโมดูล

ตารางรหัส

หมวดพนักงาน

ตารางรหัสหมวดพนักงาน
ตารางรหัสหมวดพนักงาน

ตารางรหัสหมวดพนักงาน (EMPGRP) บันทึกข้อมูลหมวดทางบัญชีของพนักงาน เช่น ข้อมูลการหัก ณ ที่จ่าย, การหักเงินสมทบต่างๆ, และรหัสบัญชีที่ใช้บันทึกกิจกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าแรง

หน้าต่างฟอร์มของตารางรหัสหมวดพนักงาน
หน้าต่างฟอร์มของตารางรหัสหมวดพนักงาน

คำอธิบายช่องข้อมูล

StID static ID ของกลุ่มพนักงาน
รหัสหมวด รหัสหมวดพนักงาน
ชื่อหมวดพนักงาน ชื่อหมวดพนักงาน
รหัสบัญชี
ค่าจ้าง ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่าจ้าง (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
เบี้ยขยัน ผังบัญชีสำหรับบันทึกเบี้ยขยัน (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
เงินตำแหน่ง ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินตำแหน่ง (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
ค่าครองชีพ ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่าครองชีพ (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
เบี้ยเลี้ยง ผังบัญชีสำหรับบันทึกเบี้ยเลี้ยง (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
ค่านายหน้า ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่านายหน้า (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
ค่าล่วงเวลา ผังบัญชีสำหรับบันทึกค่าล่วงเวลา (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
สวัสดิการ ผังบัญชีสำหรับบันทึกสวัสดิการ (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
รางวัล/โบนัส ผังบัญชีสำหรับบันทึกรางวัล/โบนัส (Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
เงินหัก ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินหัก (Cr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
ประกันสังคม ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบประกันสังคม (ฝั่งลูกจ้าง: Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
กองทุนสำรองฯ ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบกองทุนรวมฯ (ฝั่งลูกจ้าง: Dr. หมวด 5: ค่าใช้จ่าย)
รหัสบัญชี (กองทุนต่างๆ: ฝั่งนายจ้าง)
ประกันสังคม ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบประกันสังคม (ฝั่งนายจ้าง: Cr. หมวด 2: หนี้สิน)
กองทุนสำรองฯ ผังบัญชีสำหรับบันทึกเงินสมทบกองทุนรวมฯ (ฝั่งนายจ้าง: Cr. หมวด 2: หนี้สิน)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ค่าจ้างและผลประโยชน์อื่น)
คำอธิบาย รหัสและคำอธิบายประเภทรายได้ของเงินได้พนักงาน (ไม่รวมค่านายหน้า)
ใช้อัตราก้าวหน้า ใช้อัตราก้าวหน้าเพื่อคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
อัตรา อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายตายตัว (กรณีไม่ใช้อัตราก้าวหน้า)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ค่านายหน้า)
คำอธิบาย รหัสและคำอธิบายประเภทรายได้ของเงินได้สำหรับค่านายหน้า
คำนวณร่วมกับภาษีเงินได้อื่นๆ คำนวณหัก ณ ที่จ่ายของค่านายหน้ารวมกับรายได้อื่น
อัตรา อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายค่านายหน้า (ใช้ในกรณีไม่คำนวณร่วมกับรายได้อื่น)
อัตราเงินสมทบต่างๆ
ประกันสังคม ร้อยละของค่าจ้างที่หักจากเงินที่จ่ายพนักงานเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม
สูงสุด (ประกันสังคม) เงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดต่องวด

*** ใส่ 0.00 กรณีไม่มีกำหนดค่าสูงสุด

กองทุนสำรองฯ ร้อยละของค่าจ้างที่หักจากเงินที่จ่ายพนักงานเพื่อสมทบกองทุนสำรองฯ
สูงสุด (กองทุนสำรองฯ) เงินสมทบกองทุนสำรองฯ สูงสุดต่องวด

*** ใส่ 0.00 กรณีไม่มีกำหนดค่าสูงสุด

พนักงาน

ตารางรหัสพนักงาน
ตารางรหัสพนักงาน

ตารางรหัสพนักงาน (EMPLOYEE) ใช้บันทึกข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน, ข้อมูลการว่าจ้าง, รวมไปถึงข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หน้าต่างฟอร์มของตารางรหัสพนักงาน
หน้าต่างฟอร์มของตารางรหัสพนักงาน

คำอธิบายช่องข้อมูล

StID static ID ของพนักงาน
รหัสพนักงาน รหัสพนักงาน
ชื่อพนักงาน ชื่อ-สกุลพนักงาน
ที่อยู่ ที่อยู่พนักงาน
รหัสไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ของพนักงาน
วันเกิด วันเกิดของพนักงาน
โทรศัพท์ โทรศัพท์ติดต่อพนักงาน
โทรสาร โทรสารติดต่อพนักงาน
อีเมล อีเมลติดต่อพนักงาน
รูป รูปพนักงาน
แท็บ "การว่าจ้าง"
ตำแหน่งและสถานะการว่าจ้าง
ชนิดการว่าจ้าง เลือกจาก 2 ตัวเลือก
  • พนักงานประจำ
  • พนักงานชั่วคราว
หมวดพนักงาน หมวดพนักงานที่มีพนักงาน
แผนก แผนกที่จ้างงาน หรือทำงาน
ตำแหน่ง ชื่อหรือคำอธิบายตำแหน่งพนักงาน
วันที่เริ่มต้น วันที่เริ่มต้นการว่าจ้าง
สถานะ เลือกจาก 2 ตัวเลือก
  • ว่าจ้าง
  • สิ้นสุดการว่าจ้าง
วันที่สิ้นสุด วันที่สิ้นสุดการว่าจ้าง

*** ช่องนี้ปรากฏเมื่อ "สถานะ" เป็น "สิ้นสุดการว่าจ้าง" เท่านั้น

เงินได้/ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายสะสมคำนวณเอง (เฉพาะในปี)

*** กรณีพนักงานเปลี่ยนมาทำงานที่บริษัทระหว่างปี ให้กรอกข้อมูลเงินได้สะสมในปีไว้ในส่วนนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้โปรแกรมใช้คำนวณภาษีเงินได้

เงินได้ (ก่อนหักภาษี) เงินได้สะสมก่อนหักภาษีตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง"
ภาษี ภาษี หัก ณ ที่จ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง"
ประกันสังคม เงินสมทบกองทุนประกันสังคมสะสม (ฝั่งลูกจ้าง) ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง"
กองทุนสำรองฯ เงินสมทบกองทุนสำรองฯ (ฝั่งลูกจ้าง) ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนก่อนเดือนที่ระบุในช่อง "จนถึง"
จนถึง (ไม่รวม) เดือนที่ต้องการให้โปรแกรมเริ่มเก็บข้อมูลเงินได้และภาษีของพนักงาน

*** โปรแกรมจะถือเอาค่าสะสมที่กรอกในส่วนนี้ว่าเป็นค่าสะสมยกมาจากเดือนก่อน แล้วจะเริ่มเก็บข้อมูลเงินได้และภาษีของพนักงานจากเอกสารในเมนูย่อย "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน" ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป

ค่าจ้างและผลประโยชน์
ชั่วโมงทำงาน ชั่วโมงทำงานปกติของพนักงาน (หน่วย ชั่วโมงต่อวัน)
วันที่ทำงาน วันในสัปดาห์ที่พนักงานต้องมาทำงาน

*** กรณีวันทำงานไม่แน่นอน สามารถเลือกเพื่อให้มีจำนวนวันทำงานในสัปดาห์เท่ากับความเป็นจริงก็ได้ แต่อาจทำให้ค่าตั้งต้นของ "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน" คลาดเคลื่อนไปบ้าง (กรณีเลือกจ่ายค่าจ้าง "ลูกจ้างรายชั่วโมง" หรือ "ลูกจ้างรายวัน" เป็นราย "เดือน")

ระยะการจ่ายค่าจ้าง เงื่อนไขค่าจ้างที่จะกำหนดในส่วนนี้ เลือกจาก
  • รายชั่วโมง
  • รายวัน
  • รายเดือน
เงื่อนไขการหักภาษี เลือกจาก 3 ตัวเลือก
  • หัก ณ ที่จ่าย
  • จ่ายให้ครั้งเดียว
  • จ่ายให้ตลอดไป
ค่าจ้าง ค่าจ้างรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน

*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง"

เบี้ยขยัน เบี้ยขยันรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน

*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง"

เงินตำแหน่ง เงินตำแหน่งรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน

*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง"

ค่าครองชีพ ค่าครองชีพรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนของพนักงาน

*** ขึ้นกับค่าที่เลือกในช่อง "ระยะการจ่ายค่าจ้าง"

แท็บ "การจ่ายค่าจ้างและการลดหย่อน #1"
บัญชีและเลขประจำตัว
เลขที่ผู้เสียภาษี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของพนักงาน
เลขประกันสังคม เลขกองทุนประกันสังคมของพนักงาน
เลขกองทุนสำรองฯ เลขกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงาน
ธนาคาร รหัสและชื่อธนาคารเจ้าของบัญชีรับเงินเดือนของพนักงาน
เลขที่บัญชีธนาคาร เลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินเดือนของพนักงาน
ชื่อบัญชีธนาคาร (อังกฤษ) ชื่อบัญชีรับเงินเดือนของพนักงาน (ภาษาอังกฤษ)

*** โปรแกรมจะไม่ตรวจสอบค่าในช่องนี้ แต่ข้อจำกัดของข้อมูลในช่องนี้แตกต่างกับไปตามระบบของแต่ละธนาคาร โปรดตรวจสอบข้อจำกัดในระบบธนาคารที่บริษัทใช้งาน

คู่สมรส
สถานะสมรส เลือกจาก 4 ตัวเลือก
  • โสด
  • สมรส
  • หย่า
  • หม้าย
ลดหย่อนได้ ลดหย่อนภาษีเงินได้กรณีคู่สมรสไม่มีเงินหรือไม่

*** ช่องนี้ปรากฏเมื่อ "สถานะสมรส" เป็น "สมรส" เท่านั้น

ชื่อ ชื่อ-สกุลของคู่สมรส
เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวประชาชนของคู่สมรส
วันเกิด วันเกิดของคู่สมรส
เลขประจำตัวประชาชนบุตร
ลดหย่อนปกติ ใส่เลขประจำตัวประชาชนของบุตรที่ลดหย่อนภาษีในอัตราปกติ โดยคั่นแต่ละรายด้วยเครื่องหมาย ";"
ลดหย่อนพิเศษ ใส่เลขประจำตัวประชาชนของบุตรที่ลดหย่อนภาษีได้ในอัตราพิเศษ โดยคั่นแต่ละรายด้วยเครื่องหมาย ";"

*** ในวันที่เขียนคู่มือนี้ (19 พฤษภาคม ค.ศ. 2023) บุตรที่ลดหย่อนภาษีได้ในอัตราพิเศษหมายถึง บุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี ค.ศ. 2019

แท็บ "การลดหย่อน #2"
บุคคลในอุปการะ
บิดา เลขประจำตัวประชาชนของบิดา
เบี้ยประกัน (บิดา) เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของบิดา
ลดหย่อนได้ (บิดา) สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะบิดาได้
มารดา เลขประจำตัวประชาชนของมารดา
เบี้ยประกัน (มารดา) เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของมารดา
ลดหย่อนได้ (มารดา) สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะมารดาได้
บิดาคู่สมรส เลขประจำตัวประชาชนของบิดาคู่สมรส
เบี้ยประกัน (บิดาคู่สมรส) เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของบิดาคู่สมรส
ลดหย่อนได้ (บิดาคู่สมรส) สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะบิดาคู่สมรสได้
มารดาคู่สมรส เลขประจำตัวประชาชนของมารดาคู่สมรส
เบี้ยประกัน (มารดาคู่สมรส) เบี้ยประกันที่ลดหย่อนได้ของมารดาคู่สมรส
ลดหย่อนได้ (มารดาคู่สมรส) สามารถลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะมารดาคู่สมรสได้
คนทุพพลภาพ ยอดเงินที่ลดหย่อนได้กรณีอุปการะบุคคลทุพพลภาพ
เงินบริจาค
ลดหย่อนได้ 2 เท่า ยอดเงินบริจาคที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า (ยังไม่ต้องคูณ 2)
ลดหย่อนได้ ยอดเงินบริจาคที่ลดหย่อนได้ส่วนที่เหลือ
เบี้ยประกัน
ชีวิต เบี้ยประกันชีวิตที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้
สุขภาพ เบี้ยประกันสุขภาพที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้
บำนาญ เบี้ยประกันแบบบำนาญที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้
การลดหย่อนอื่นๆ
ดอกเบี้ยเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย
แท็บ "การลดหย่อนเพิ่มเติม #1 และ #2"
เพิ่มเติม #1 – #24 ยอดลดหย่อนในรายการเพิ่มเติมซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละปี

*** คำอธิบายของช่องข้อมูลเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ที่การตั้งค่าโมดูล

เลขที่เอกสารอัตโนมัติ

ซีรีส์เอกสารตั้งต้น

กลุ่มเอกสาร ซีรีส์ คำอธิบาย
รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน PRS รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน

การตั้งค่าโมดูล

การตั้งค่าโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน
การตั้งค่าโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน

คำอธิบายช่องข้อมูล

รหัสบัญชีตั้งต้น
ค่าจ้าง ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
เบี้ยขยัน ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
เงินตำแหน่ง ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
ค่าครองชีพ ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
เบี้ยเลี้ยง ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
ค่านายหน้า ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
ค่าล่วงเวลา ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
สวัสดิการ ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
รางวัล/โบนัส ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
เงินหัก ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
ประกันสังคม ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
กองทุนประกันสังคม (นายจ้าง) ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
กองทุนสำรองฯ (นายจ้าง) ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่
การจ่ายค่าจ้าง ใช้เป็นค่าตั้งต้นสำหรับเอกสารใหม่ในเมนูย่อย "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน"
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
*** ระบุอัตราเพื่อใช้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ค่าตั้งต้นสำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ค่าจ้าง & เงินเพิ่มต่างๆ คำอธิบาย และ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างและเงินเพิ่มต่างๆ

*** ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่

ค่านายหน้า คำอธิบาย และ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่านายหน้า

*** ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่

แบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างและค่านายหน้า แบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างและค่านายหน้า
ค่าตั้งต้นสำหรับอัตราเงินสมทบกองทุนต่างๆ
ประกันสังคม อัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

*** ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อัตราเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งต้น

*** ใช้เป็นค่าตั้งต้นในการเพิ่มหมวดพนักงานใหม่

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (สูงสุด) ยอดเงินและร้อยละสูงสุด (ของเงินได้รวม) ที่สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวจากเงินได้พึงประเมินภาษี
เงินบริจาคกลุ่มลดหย่อนได้ 2 เท่า (สูงสุด) ร้อยละสูงสุด (ของเงินได้ หลังหักลดหย่อน) ที่สามารถหักเงินบริจาคกลุ่มลดหย่อนได้ 2 เท่าจากเงินได้พึงประเมินภาษี
เงินบริจาคที่ลดหย่อนได้ (สูงสุด) ร้อยละสูงสุด (ของเงินได้ หลังหักลดหย่อนและเงินบริจาคส่วนที่ลดหย่อนได้ 2 เท่า) ที่สามารถหักเงินบริจาคที่ลดหย่อนได้กลุ่มอื่นๆ จากเงินได้พึงประเมินภาษี
เงินสมทบกองทุนสำรองฯ ที่ลดหย่อน/ยกเว้น
ส่วนลดหย่อน (สูงสุด) ส่วนของเงินสมทบกองทุนสำรองฯ ที่สามารถหักลดหย่อนได้โดยไม่มีเงื่อนไขร้อยละ (ส่วนที่กรอกใน "ใบแนบแบบภาษีเงินได้")
ส่วนยกเว้น (สูงสุด) ยอดเงินและร้อยละสูงสุด (ของเงินได้รวม) สำหรับเงินสมทบกองทุนสำรองฯ ส่วนที่ได้รับการยกเว้น (ส่วนที่กรอกในส่วน ข. ในแบบ ภ.ง.ด. 91)
ค่าจำกัดการลดหย่อนภาษี
ผู้มีเงินได้ / คู่สมรส / บิดา-มารดา / บิดา-มารดาของคู่สมรส ยอดเงินสูงสุดที่สามารถลดหย่อนได้ตามกฎหมายสำหรับแต่ละบุคคล
บุตรที่ลดหย่อนได้ จำนวนบุตรสูงสุดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
บุตร: ลดหย่อนปกติ ยอดลดหย่อนปกติสำหรับบุตรที่ลดหย่อนได้ (ยอดต่อบุตร 1 คน)
บุตร: ลดหย่อนพิเศษ ยอดลดหย่อนพิเศษสำหรับบุตรที่เข้าเงื่อนไข (ยอดต่อบุตร 1 คน)

*** ในวันที่เขียนคู่มือนี้ (19 พฤษภาคม ค.ศ. 2023) บุตรที่ลดหย่อนภาษีได้ในอัตราพิเศษหมายถึง บุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี ค.ศ. 2019

คำอธิบายรายการลดหย่อน
เพิ่มเติม #1 – #24 คำอธิบายรายการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม

*** คำอธิบายรายการเหล่านี้จะแสดงในช่องข้อมูลลดหย่อนในตารางรหัส "พนักงาน"

การตั้งค่าการบันทึกสมุดรายวัน

สมุดบัญชีของโมดูล

รหัสสมุด ชื่อสมุด ภาษีซื้อ/ขาย หมายเหตุ
PRL สมุดรายวันค่าจ้าง/เงินเดือน -

การลงบัญชีรายวัน

ตัวเลือกกิจกรรมที่มีการลงบัญชีของโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน
ตัวเลือกกิจกรรมที่มีการลงบัญชีของโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน

โมดูลนี้มีฟังก์ชันบันทึกบัญชีอัตโนมัติสำหรับ 1 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมีการตั้งค่าเริ่มต้นดังต่อไปนี้

รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน

สมุด ค่าจากเอกสาร Dr./Cr. คำอธิบายรายการ ใช้ตารางรหัส รหัสบัญชี ชื่อบัญชี
PRL ค่าจ้างตามรายการพนักงาน Dr. ค่าจ้าง 5311-00 เงินเดือน
PRL เบี้ยขยันตามรายการพนักงาน Dr. เบี้ยขยัน 5311-00 เงินเดือน
PRL เงินตำแหน่งตามรายการพนักงาน Dr. เงินตำแหน่ง 5311-00 เงินเดือน
PRL ค่าครองชีพตามรายการพนักงาน Dr. ค่าครองชีพ 5314-00 ค่าสวัสดิการพนักงาน
PRL เบี้ยเลี้ยงตามรายการพนักงาน Dr. เบี้ยเลี้ยง 5317-00 ค่าเบี้ยเลี้ยง
PRL ค่านายหน้าตามรายการพนักงาน Dr. ค่านายหน้า 5210-00 ค่านายหน้า
PRL ค่าล่วงเวลาตามรายการพนักงาน Dr. ค่าล่วงเวลา 5312-00 ค่าล่วงเวลา
PRL สวัสดิการตามรายการพนักงาน Dr. สวัสดิการ 5314-00 ค่าสวัสดิการพนักงาน
PRL รางวัล/โบนัสตามรายการพนักงาน Dr. รางวัล/โบนัส 5313-00 โบนัส/รางวัล
PRL เงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามรายการ (นายจ้าง) Dr. กองทุนประกันสังคม (นายจ้าง) 5315-00 เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
PRL เงินสมทบกองทุนสำรองฯ ตามรายการ (นายจ้าง) Dr. กองทุนสำรองฯ (นายจ้าง) 5316-00 เงินสมทบกองทุนทดแทน
PRL เงินหักตามรายการพนักงาน Cr. เงินหัก 5311-00 เงินเดือน
PRL ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามรายการพนักงาน Cr. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2194-04 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
PRL เงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามรายการพนักงาน Cr. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม 2191-03 เงินประกันสังคมรอนำส่ง
PRL เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามรายการพนักงาน Cr. เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2191-03 เงินประกันสังคมรอนำส่ง
PRL ยอดสุทธิตามรายการพนักงาน Cr. การชำระเงิน 1113-01 เงินฝากออมทรัพย์ #1

แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้

การแก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ของโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน
การแก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้ของโมดูลค่าจ้าง/เงินเดือน

คำอธิบายช่องข้อมูล

การจัดการตารางรหัส
หมวดพนักงาน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
พนักงาน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 5
การจัดการเอกสาร
รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4
อื่นๆ
การเรียกดูรายงาน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4
การแก้ไขรายงาน มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4
การจัดการซีรีส์เอกสาร มีค่าได้ตั้งแต่ 0 – 4

*** สามารถดูความหมายของค่าสิทธิ์ได้ที่หัวข้อ เมนู "การใช้งาน" → แก้ไขสิทธิ์ผู้ใช้

เมนูย่อย "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน"

เมนูย่อยนี้ใช้ในการบันทึกรายละเอียดการจ่ายค่าจ้างในแต่ละงวด เมื่อผู้ใช้สร้างเอกสารจ่ายค่าจ้างแล้ว ระบบจะดึงข้อมูลเอกสารไปบันทึกรายได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสม พร้อมลงบันทึกบัญชีรายวันให้โดยอัตโนมัติ

เพจ "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน"
เพจ "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน"

*** ในเพจนี้ ระบบจะพยายามคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในงวดการจ่ายค่าจ้างให้ โดยอาศัยข้อมูลเงินได้สะสมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมของพนักงานแต่ละคน ดังนั้น ผู้ใช้ควรสั่ง "คำนวณข้อมูลใหม่" อีกครั้งก่อนกรอกข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้คำนวณมีความถูกต้องแม่นยำ

คำอธิบายช่องข้อมูล

รายการหลัก (หัวเอกสาร)
เลขที่เอกสาร เลขที่เอกสาร

*** ใช้ฟังก์ชันเลขที่เอกสารอัตโนมัติได้

*** ซีรีส์เอกสารที่ใช้ได้คือกลุ่ม "ใบสำคัญจ่ายค่าจ้าง"

วันที่เอกสาร วันที่ของเอกสาร

*** ต้องอยู่ในเดือนเดียวกันกับวันที่ของ session

เลขที่อ้างอิง เลขที่เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)
วันที่อ้างอิง วันที่ของเอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)
แผนก แผนก
รอบ กรอกจำนวนรอบการทำงานที่ต้องการจ่ายค่าจ้าง โดยกรอกเป็นจำนวนเต็ม และเลือกหน่วยจากตัวเลือก
  • ชั่วโมง
  • วัน
  • เดือน
คำนวณภาษีเงินได้เดือนสิ้นปี คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายงวดสุดท้ายของปี

*** เมื่อเลือกใช้ฟีเจอร์นี้ ระบบจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้แก้ไขยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายในรายการย่อย

*** ฟังก์ชันนี้เปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ของ session ตกอยู่ในเดือนธันวาคมเท่านั้น

บัญชี ผังบัญชีที่ลงบันทึกจ่ายค่าจ้าง (หมวดสินทรัพย์)
คำอธิบาย คำอธิบายรายการจ่ายค่าจ้างนี้
บันทึก บันทึกรายละเอียดของรายการเพิ่มเติม
รายการย่อย (รายละเอียดรายการค่าจ้าง)
พนักงาน รหัสและชื่อของพนักงานที่รับค่าจ้างในรายการนี้
ค่าจ้างพื้นฐาน
ค่าจ้าง *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
เงินเพิ่ม
เบี้ยขยัน *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
เงินตำแหน่ง *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
ค่าครองชีพ *** ระบบจะคำนวณค่าตั้งต้นให้ โดยใช้ค่าตารางรหัสและรอบการจ่ายค่าจ้างในหัวเอกสาร แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
เบี้ยเลี้ยง *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
ค่าล่วงเวลา *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
สวัสดิการ *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
รางวัล/โบนัส *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
ค่านายหน้า
ค่านายหน้า *** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้
เงินหัก & เงินสมทบกองทุน
เงินหัก ยอดที่หักจากยอดที่ต้องจ่าย เพราะพนักงานได้รับไปแล้วผ่านทางกิจกรรมทางการเงินอื่น เช่น เบิกเงินเดือนล่วงหน้า ฯลฯ

*** ค่าตั้งต้นเป็น 0.00 แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้

ประกันสังคม เงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ส่วนลูกจ้าง)

*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้จากยอดในช่อง "ค่าจ้าง" และค่าที่กำหนดไว้ในตารางรหัส "กลุ่มพนักงาน" แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้

กองทุนสำรองฯ เงินสมทบกองทุนสำรองฯ (ส่วนลูกจ้าง)

*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้จากยอดในช่อง "ค่าจ้าง" และค่าที่กำหนดไว้ในตารางรหัส "กลุ่มพนักงาน" แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้

เงินสมทบกองทุนต่างๆ (นายจ้าง)
ประกันสังคม เงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ส่วนนายจ้าง)

*** ค่าตั้งต้นเท่ากับส่วนของลูกจ้าง แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้

กองทุนสำรองฯ เงินสมทบกองทุนสำรองฯ (ส่วนนายจ้าง)

*** ค่าตั้งต้นเท่ากับส่วนของลูกจ้าง แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (เงินได้) ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนที่ไม่รวมค่านายหน้า

*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ (ยกเว้นผู้ใช้เลือกให้เอกสารนี้ "คำนวณภาษีเงินได้เดือนสิ้นปี")

หัก ณ ที่จ่าย (นายหน้า) ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนของค่านายหน้า

*** ระบบคำนวณค่าตั้งต้นให้ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้ (ยกเว้นผู้ใช้เลือกให้เอกสารนี้ "คำนวณภาษีเงินได้เดือนสิ้นปี")

เงื่อนไข เงื่อนไขการหัก ณ ที่จ่าย เลือกจาก 3 ตัวเลือก
  • หัก ณ ที่จ่าย
  • จ่ายให้ครั้งเดียว
  • จ่ายให้ตลอดไป

*** ระบบจะเลือกค่าที่ตั้งค่าเอาไว้มาเป็นค่าตั้งต้น แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเองได้

การคำนวณค่าเริ่มต้นของค่าจ้าง

วิธีการคำนวณค่าเริ่มต้นของ ค่าจ้าง/เบี้ยขยัน/เงินตำแหน่ง/ค่าครองชีพ
รอบจ่ายค่าจ้าง
(ในหัวเอกสาร)
ระยะการจ่ายค่าจ้าง (ในตารางรหัส "พนักงาน")
ชั่วโมง วัน เดือน
N ชั่วโมง N N / hpd N / hpd / FM
N วัน N × hpd N N / FM
N เดือน N × hpd × dpm N × dpm N

โดย:

hpd คือ จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน (อ่านค่าจากตารางรหัส "พนักงาน")
dpm คือ จำนวนวันทำงานจริงในเดือน (อ่านค่าจากตารางรหัส "พนักงาน" แล้วเทียบวันในสัปดาห์กับปฏิทิน)
FM คือ จำนวนวันในเดือนที่จ่ายค่าจ้าง

การนำเข้าข้อมูลการจ่ายค่าจ้างจากไฟล์กระดาษทำการ

เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลการจ่ายค่าจ้างได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกรณีที่มีพนักงานจำนวนมาก โปรแกรมมีฟังก์ชันการนำเข้ารายการจ่ายค่าจ้างจากไฟล์กระดาษทำการสกุล XLSX (สร้างจากโปรแกรม Microsoft Excel 2007 ขึ้นไปหรือโปรแกรมกระดาษทำการอื่น) มีวิธีใช้งานดังนี้

  1. กดปุ่ม ปุ่มเพิ่มเอกสาร/รายการหลัก เพื่อเพิ่มเอกสาร หรือ ปุ่มแก้ไขเอกสาร/รายการหลัก เพื่อแก้ไขเอกสารตามปกติ
  2. กรอกข้อมูลหัวเอกสารให้ครบถ้วน จากนั้นบันทึกหัวเอกสาร (ด้วยการกดปุ่ม ปุ่มยืนยันเอกสาร/รายการหลัก )
    หน้าต่างนำเข้าไฟล์กระดาษทำการค่าจ้าง
    หน้าต่างนำเข้าไฟล์กระดาษทำการค่าจ้าง
  3. ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการกรอกรายการย่อย โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง "นำเข้าตารางข้อมูลค่าจ้าง" หากผู้ใช้ต้องการกรอกข้อมูลค่าจ้างทีละรายการ สามารถกดปุ่ม "ปิด" เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป (รายการย่อย) ได้ทันที
  4. หากผู้ใช้ยังไม่มีไฟล์เตรียมไว้ก่อน ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างโดยกดปุ่ม "ดาวน์โหลดไฟล์ต้นแบบ" (หากผู้ใช้มีไฟล์กระดาษทำการที่มีโครงสร้างเหมาะสมเตรียมเอาไว้อยู่แล้ว สามารถข้ามไปขั้นตอนที่ 8 ได้ทันที)
    ไฟล์กระดาษทำการสำหรับกรอกข้อมูลการจ่ายค่าจ้าง
    ไฟล์กระดาษทำการสำหรับกรอกข้อมูลการจ่ายค่าจ้าง
  5. เมื่อเปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา จะพบไฟล์กระดาษทำการที่มีทั้งหมด 2 ชีท
    • ชีท "_desc" ระบุความหมายของแต่ละคอลัมน์ พร้อมวิธีใช้
    • ชีท "wage" ใช้สำหรับกรอกข้อมูล โดยโปรแกรมจะคำนวณค่าเริ่มต้นกรอกเอาไว้ให้ก่อนแล้ว
  6. กรอกข้อมูลตามที่ต้องการในชีท "wage"
    • สำหรับคอลัมน์ "sso", "prov", "sso_comp", "prov_comp", "wage_wht", "cmms_wht" ผู้ใช้สามารถกรอกค่า -1 (ลบหนึ่ง) เพื่อสั่งให้ระบบคำนวณค่าให้ใหม่โดยอัตโนมัติ
    • สำหรับคอลัมน์ "taxcond" ผู้ใช้กรอกค่าตัวเลือกด้วยตัวเลข ดังนี้
      1. หัก ณ ที่จ่าย
      2. จ่ายให้ครั้งเดียว
      3. จ่ายให้ตลอดไป
  7. บันทึกไฟล์กระดาษทำการ แล้วกลับมาที่หน้าโปรแกรมคูนิฟ็อกซ์
  8. อัพโหลดไฟล์ที่บันทึกไว้ในช่อง "ไฟล์" แล้วกดปุ่ม "นำเข้า"
  9. ระบบจะอ่านไฟล์ และนำเข้าข้อมูล
    • หากนำเข้าสำเร็จ โปรแกรมจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป (รายการย่อย)
    • หากนำเข้าไม่สำเร็จ โปรแกรมจะแจ้งปัญหาที่พบให้ผู้ใช้ทราบผ่านไฟล์บันทึก (log) ให้ผู้ใช้เปิดดูรายละเอียดและแก้ไขไฟล์กระดาษทำการอีกครั้ง
      เพจนำส่งไฟล์ log บันทึการนำเข้า
      เพจนำส่งไฟล์ log บันทึการนำเข้า

การเก็บประวัติต่างๆ

โมดูลค่าจ้างมีการเก็บประวัติรายการต่างๆ ดังนี้

  1. ประวัติเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมของพนักงาน
    • อัพเดตรายการยอดสะสมคำนวณเองจากข้อมูลในตารางรหัสพนักงานเมื่อผู้ใช้สั่ง "คำนวณข้อมูลใหม่"
    • อัพเดตรายการเงินได้และภาษีสะสมเมื่อมีการเพิ่ม/แก้ไข/ลบเอกสารผ่านเมนูย่อย "รายการจ่ายค่าจ้าง/เงินเดือน"
    • ประวัติต่างๆ ที่เก็บในไฟล์นี้จะยกยอดต่อเนื่องภายในปีเท่านั้น แต่จะไม่ยกยอดจากเดือนธันวาคม ไปยังเดือนมกราคมของปีถัดไป

การประมาณเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อคำนวณภาษี

เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณจากยอดเงินได้ตลอดปี ดังนั้น ในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับงวดจ่ายค่าจ้างอื่นๆ ทั้งหมดที่ไม่ใช่งวดสุดท้ายของปี ระบบจำเป็นต้องประมาณการรายได้ทั้งปีของพนักงาน มีวิธีการประมาณการ และคำนวณภาษีดังนี้

*** ใบสำคัญที่ถือเป็นการจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายของปี มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

  • มีรอบจ่ายเป็น "เดือน" และลงวันที่ในเดือนธันวาคม หรือ
  • ใบสำคัญจ่ายค่าจ้างที่ลงวันที่ 31 ธันวาคมของแต่ละปี

ประมาณการเงินได้ทั้งปี

  1. รายได้สะสมก่อนเดือนที่สนใจ: อ่านจากไฟล์ประวัติโดยตรง
  2. รายได้ในเดือนที่สนใจ:
    • กรณีใบสำคัญจ่ายค่าจ้างมีรอบเป็น "เดือน" จะยึดค่าในเอกสารนี้ทันที
    • กรณีเอกสารมีรอบเป็นอย่างอื่น
      • ยึดค่าตามประวัติสำหรับรายได้สะสมก่อนวันที่เอกสาร
      • ใช้ค่าในเอกสารสำหรับรายได้ภายในวันที่เอกสาร
      • ใช้ค่าในตารางรหัสเพื่อประมาณการรายได้ในจำนวนวันที่เหลือของเดือน
  3. รายได้ในเดือนถัดไปจนถึงสิ้นปี: ใช้ค่าในตารางรหัสเพื่อประมาณการรายได้

*** รายได้ประมาณการของทั้งปี คือ ผลบวกของรายได้ใน 3 รายการข้างต้น

การคำนวณยอดภาษีในแต่ละเดือน (กรณีใช้อัตราก้าวหน้า)

  1. คำนวณยอดรายได้รวม
  2. หักรายการค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และรายการลดหย่อนภาษีต่างๆ
  3. คำนวณยอดภาษีพึงชำระทั้งปี
  4. คำนวณยอดภาษีที่ควรจะยื่นเรียบร้อยแล้วในงวดที่สนใจ เช่น
    • สนใจงวดเดือนกันยายน
    • คำนวณภาษีพึงชำระทั้งปีได้ 12,000 บาท ดังนั้นภาษีที่ควรจะยื่นเสร็จสิ้น ณ สิ้นเดือนกันยายน คือ 9,000 บาท (12,000 × 9 / 12)
  5. ภาษีที่จะยื่นในงวดนี้คือ ยอดตามข้อ 4 ลบกับยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายสะสมตามไฟล์ประวัติ เช่น
    • ค่าที่คำนวนได้จากข้อ 4 คือ 9,000 บาท
    • จากประวัติพบว่า นับถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ได้ยื่นภาษีไปแล้ว 7,570 บาท
    • ดังนั้น หัก ณ ที่จ่ายในงวดเดือนกันยายนในส่วนต่าง 1,430 บาท (9,000 − 7,570)