วิธีการเริ่มใช้งานโปรแกรมคูนิฟ็อกซ์

จาก คูนิฟ็อกซ์ วิกิ

การลงชื่อเข้าใช้

  1. เปิดโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (เวอร์ชันขั้นต่ำตามที่ระบุในหัวข้อความต้องการของระบบ: ในภาพตัวอย่างใช้โปรแกรม Mozilla Firefox 105)
  2.  
    ตำแหน่งของช่องที่อยู่ในเว็บเบราเซอร์
  3. ในช่องที่อยู่เว็บ (location/address bar: หมายเลข 1) กรอกข้อความตามตารางด้านล่าง แล้วกด ↵ Enter

    http://cuneifox.server( ชื่อหรือที่อยู่ IP ของเซิร์ฟเวอร์)

    กรณีใช้พอร์ต 80 ในการเข้าถึง

    https://cuneifox.server( ชื่อหรือที่อยู่ IP ของเซิร์ฟเวอร์)

    กรณีใช้พอร์ต 443 ในการเข้าถึง

    cuneifox.server(ชื่อหรือที่อยู่ IP ของเซิร์ฟเวอร์):5000(เลขพอร์ต)

    กรณีใช้พอร์ตอื่นที่ไม่ใช่พอร์ต 80 หรือ 443 ในการเข้าถึง
    *** ข้อมูลเซิร์ฟเวอร์และพอร์ต เป้นไปตามที่ตกลงร่วมกันระหว่างทีมติดตั้งกับผู้ใช้บริการแต่ละราย
  4.  
    รายละเอียดเพจลงชื่อเข้าใช้
  5. ระบบจะแสดงหน้าลงชื่อเข้าใช้ ให้ผู้ใช้กรอกรหัสบริษัท (หมายเลข 2), รหัสผู้ใช้ (หมายเลข 3), และรหัสผ่าน (หมายเลข 4) จากนั้นคลิกปุ่ม "ลงชื่อเข้าใช้"
  6. หากข้อมูลการเข้าใช้ไม่ถูกต้อง จะปรากฏข้อความแจ้งเตือนในตำแหน่งหมายเลข 5
    • หากผู้ใช้ใส่รหัสบริษัทไม่ถูกต้อง ระบบจะแจ้งเตือนว่า "ไม่พบบริษัท!"
    • หากผู้ใช้ใส่รหัสผู้ใช้ไม่ถูกต้อง ระบบจะแจ้งเตือนว่า "ไม่พบผู้ใช้!"
    • หากผู้ใช้ใส่รหัสผ่านไม่ถูกต้อง ระบบจะแจ้งเตือนว่า "รหัสผ่านไม่ถูกต้อง!"
  7. เมื่อเข้าสู่ระบบสำเร็จ จะปรากฏเพจ home ของผู้ใช้ในบริษัทนั้น

เพจ Home

 
องค์ประกอบของเพจ home
 
เปรียบเทียบเพจ home ที่ยังไม่ได้ปักหมุดฟังก์ชัน (บน) และเพจ home ที่ปักหมุดฟังก์ชันแล้ว (ล่าง)

ส่วนประกอบของหน้า home ที่สำคัญมี 4 ส่วนด้วยกันดังนี้

  • ปุ่ม home (หมายเลข 6): ผู้ใช้สามารถกดปุ่มนี้เพื่อกลับเพจ home ได้ทันทีจากทุกๆ เพจในโปรแกรม
  • ชื่อบริษัทและผู้ใช้ (หมายเลข 7): แสดงข้อมูลการลงชื่อเข้าใช้งานสำหรับ session ปัจจุบัน
    *** เมื่อคลิกที่ชื่อบริษัท ระบบจะเข้าสู่เพจ "เลือกบริษัท/สาขา" เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ทำงานหลายบริษัท
  • วันที่และเวลา (หมายเลข 8): แสดงวันที่และเวลาของ session *** เมื่อกดที่วันที่หรือเวลา ระบบจะเข้าสู่เพจ "กำหนดวันที่/เวลา"
  • แถบเมนู (หมายเลข 9): ผู้ใช้สามารถใช้แถบเมนูนี้เพื่อเข้าถึงเพจใดก็ได้ในโปรแกรม (ตามที่ผู้ใช้มีสิทธิ์) โดยกลุ่มเมนูด้านขวาของหน้าจอเป็นเมนูของระบบกลาง และกลุ่มเมนูด้านซ้ายเป็นเมนูเฉพาะของแต่ละโมดูล
  • แถบเครื่องมือสำหรับโปรแกรมโดยรวม (หมายเลข 10):
    • ปุ่ม   (ย้อนกลับ): ย้อนกลับไปเพจในระดับสูงขึ้น
    • ปุ่ม   (ปักหมุด): ปักหมุดหรือยกเลิกการปักหมุดเพจปัจจุบัน เพจที่ปักหมุดเอาไว้จะแสดงเป็นไอคอนในเพจ home ของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ในคลิกเดียว ไม่จำเป็นต้องหาเมนูที่ต้องการจากแถบเมนู

      ไอคอนของแต่ละโมดูลจะมีสีเฉพาะเป็นของตัวเอง:

      • โมดูลแยกประเภท: สีม่วง
      • โมดูลเจ้าหนี้/ลูกหนี้: สีเทา/เขียว
      • โมดูลสินค้าคงคลัง: สีส้ม
      • โมดูลสินทรัพย์: สีเหลือง
      • โมดูลค่าจ้าง: สีฟ้า
    • ปุ่ม   (ติดต่อ/แจ้งปัญหา): ปุ่มแจ้งปัญหา (ดูวิธีใช้ในหัวข้อย่อยถัดไป)
  • การใช้ปุ่มติดต่อ/แจ้งปัญหา

    เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเข้าใจสภาพปัญหาที่ผู้ใช้พบได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น ผู้ใช้สร้างรายงานปัญหาที่พบ พร้อมแนบภาพหน้าจอได้ง่ายๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. กดปุ่ม   เพื่อเริ่มการแจ้งปัญหา
  2.  
    การให้สิทธิ์เก็บภาพหน้าจอ
  3. เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงหน้าต่างขออนุญาตเก็บภาพหน้าจอ ให้ผู้ใช้กด Allow (อนุญาต)
  4.  
    เพจช่วยเหลือ พร้อมภาพหน้าจอ
  5. ระบบจะเก็บภาพหน้าจอ พร้อมแนบลงในฟอร์มรายงานปัญหาให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถอธิบายปัญหาเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ให้บริการเพิ่มเติมในช่องคำอธิบาย เช่น
    • ในขณะที่พบปัญหา ผู้ใช้กำลังทำอะไรอยู่ หรือกำลังพยายามทำอะไร
    • ปุ่มบนหน้าจอ หรือคีย์บอร์ดที่ผู้ใช้กดล่าสุดก่อนพบปัญหา
    • ข้อความเตือนบนหน้าจอ กรณีผู้ใช้ได้ปิดข้อความนั้นไปแล้ว
    • ผู้ใช้พบปัญหานี้เป็นครั้งแรกหรือไม่
    • มีผู้ใช้คนอื่นพบปัญหาเดียวกันนี้หรือไม่
  6. กดปุ่ม "สร้างไฟล์แจ้งอาการ" เพื่อสร้างรายงานปัญหา เพื่อพิมพ์ส่งให้ผู้ดูแลระบบภายใน หรือเพื่อส่งให้กับผู้ให้บริการ
  7.  
    รายงานปัญหา